2. หลักสูตรการปรับปรุงคุณภาพเพื่อลดของเสียในขบวนการผลิต

1. หลักการและเนื้อหาในหลักสูตร

บุคลากรที่ปฏิบัติงานในฝ่ายผลิต และฝ่ายควบคุมคุณภาพ ควรที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวการจัดการบริหารคุณภาพโดยให้มีประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่ ความสำเร็จก็ขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กรเท่านั้น ไม่สามารถเลียนแบบกันได้ ดังนั้นก่อนที่จะดำเนินการกำหนดรูปแบบในการบริหารและสร้างจิตสานึกคุณภาพให้เกิดในองค์กร เราจะต้องทำความเข้าใจถึงวัฒนธรรมองค์กรของตนเองเสียก่อน โดยเริ่มจากตัวเรา ในเนื้อหาของหลักสูตรการบริหารและสร้างจิตสานึกคุณภาพจึงขอกล่าวถึงแนวโน้มของธุรกิจเพื่อปูทางไปสู่การปรับปรุงคุณภาพและการสร้างจิตสำนึกเสียก่อน

2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพคืออะไร คุณภาพหมายถึงอะไร
2.2 สิ่งที่ตรงและเหมาะสมกับความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งประกอบไปด้วยความต้องการ 2 ประการ คือ
- คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่ได้ตามความต้องการและเป็นที่พึงพอใจของลูกค้า
- ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากความไม่มีประสิทธิภาพ ไร้ข้อบกพร่อง ไม่ต้องส่งกลับมาทำใหม่ ลดการตรวจสอบ
2.3 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถวิเคราะห์ผลต่างเกี่ยวกับการคุณภาพโดยลด
การร้องเรียนจากลูกค้า
2.4 เพื่อได้ทราบถึงข้อบกพร่อง หรือ ของเสียเกิดขึ้นได้อย่างไร

3. เวลาการฝึกอบรม
ผู้รับการฝึกอบรมจะได้ฝึกทั้ง ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเป็นเวลารวม 6  ชั่วโมง โดยผู้รับการฝึกต้องเข้ารับการฝึกอบรมตลอดระยะเวลาการฝึกอบรม

4. คุณสมบัติของผู้รับการฝึกอบรม
เป็นหัวหน้างานหรือหัวหน้าแผนกหรือผู้ควบคุมงานฝ่ายผลิต และฝ่ายควบคุมคุณภาพหรือผู้ที่สนใจ

5. วิธีการฝึกอบรม
บรรยายพร้อมสื่อประกอบการฝึกอบรม และ Workshop

6. สถานที่ฝีกอบรม
ห้องประชุมที่บริษัทจัดให้


7. หัวข้อการฝึกอบรม


ลำดับที่ หัวข้อหลักสูตร เวลา(นาที)
1ภาพรวมโดยทั่วไปของธุรกิจและผลการประกอบการ  30
2ข้อร้องเรียนจากลูกค้าและมูลค่าที่ต้องชดเชย  15
3คุณภาพและความสูญเสียที่เกิดจากความผิดพลาด 45
Coffee Break 15 
4Workshop/แนวความคิด, การปฏิบัติและความเชื่อในวัฒนธรรมองค์กร  45
การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า        30 
Lunch  
6หลักเกณฑ์การตัดสินใจในการยอมรับคุณภาพของผลิตภัณฑ์30
7การจัดตั้งโครงการ “ ของเสียเป็นศูนย์ "  60
Coffee Break
15 
8การสร้างจิตสำนึกคุณภาพ       60
9Workshop - ถาม/ตอบคำถาม  15
 รวม    360


8.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
 -  ผู้อบรมมีความเข้าใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์และปรับปรุงวิธีการทำงานเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
 -  ผู้อบรมสามารถนำความรู้และแนวคิดที่ได้รับมาประยุกต์ใช้กับระบบที่ปฏิบัติงานอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 -  ผู้อบรมสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับพนักงานในสายบังคับบัญชาของตนเองได้