เทคนิคการทำงานในโรงงาน

                
" Most of the problems in work are because of two reasons : we act without thinking or we keep thinking without acting "       




          บ่อยครั้งในการทำงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงงานเราพบว่าจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาศักยภาพของตนเองและหน่วยงานที่ตนสังกัดอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเราจึงได้รวมรวมบทความและเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโรงงาน เช่น เทคนิคการผลิต การควบคุมคุณภาพ การควบคุมทางวิศวกรรม การวางแผนการผลิตและส่งมอบผลิตภัณฑ์ ตลอดจนถึงการควบคุมต้นทุนการผลิคมานำเสนอให้กับท่านผู้อ่านที่สนใจเพื่อพิจารณาหาแนวทางในการปรับ ปรุงการทำงานต่อไป ซึ่งบทความต่างๆ มีหมวดหลักดังนี้  

1. เทคนิคการผลิต

1.1 การลดความสูญเสียในการผลิต 

          การสูญเสียที่แฝงอยู่ในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม สามารถแยกแยะการสูญเสียที่เกิดขึ้นหรือแฝงอยู่ในขบวนการผลิตออกเป็น 8 ชนิด ได้แก่

1. การสูญเสียที่เกิดจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction) 
2. การสูญเสียที่เกิดจากการผลิตของเสีย (Defect) 
3. การสูญเสียที่เกิดจาการรอคอยหรือความล่าช้า (Waiting / Delay) 
4. การสูญเสียที่เกิดจากการเก็บวัสดุสินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็น (Inventory / WIP) 
5. การสูญเสียที่เกิดจากการขนส่ง / ขนย้าย (Transportation Loss) 
6. การสูญเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต (Process Loss) 
7. การสูญเสียที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion Loss) 
8. การสูญเสียที่เกิดจากการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ (Energy In-efficiency)

           ดังนั้นเราจึงต้องกำจัดความสูญเสียดังกล่าวด้วยวิธีการต่างๆ  โปรด คลิกดูรายละเอียด ครับ

1.2 การวัดประสิทธิภาพของขบวนการผลิตด้วย Yield

      
             ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพของขบวนการผลิตเป็นปัจจัยหลักทึ่ได้มีบทบาทเข้ามาช่วยลดต้นทุนการผลิต ดังนั้นเป้าหมายในการพัฒนาอีกส่วนที่สำคัญก็คือการลดของเสียที่เกิดจากขบวนการต่างๆในระหว่างการผลิต ดังนั้นการประเมินประสิทธิภาพของขบวนการจึงวัดผลด้วยมาตรวัดขบวนการผลิต (Process Matric) ซึ่งจะไปเชื่อมโยงกับการควบคุมคุณภาพอึกส่วนหนึ่งด้วย โปรด คลิกดูรายละเอียด ครับ

1.3 Workshop ของ Yield 


1.4 การออกแบบผลิตภัณฑ์และกล่องบรรจุภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์มีบทบาทที่สำคัญมากต่อผู้ผลิต ซึ่งเป็นหน้าที่ของนักออกแบบที่ต้องคำนึงถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์แต่ละด้านให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และถูกใจผู้บริโภคมากที่สุด ซึ่งสิ่งสำคัญในการออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้นผู้ออกแบบหรือผู้ผลิตต้องเข้าใจถึง วัตถุประสงค์ของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ องค์ประกอบของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ขั้นตอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การวางแผนเพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์ หรือแม้กระทั้งเทคนิคการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โปรด คลิกดูรายละเอียด ครับ

2. การควบคุมต้นทุนการผลิต

2.1 งบการเงิน (Financial Statement)

          งบการเงิน เป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของกิจการ และแสดงฐานะการเงินของกิจการ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้ ในที่นี้จะมุ่งเน้นเกี่ยวกับงบกำไรขาดทุนเท่านั้น โปรด คลิกดูรายละเอียด ครับ
  งบดุล (Balance Sheet)
–  งบกำไรขาดทุน (Income Statement)
  งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงิน (Statement of Change in Financial Position)

2.2 ต้นทุนผลิตภัณฑ์ (Cost of Goods/Products)
ส่วนประกอบของต้นทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด (Cost of a Manufactured Product / Cost of Goods) จะประกอบด้วยวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต ซึ่งถ้าพิจารณาในด้านทรัพยากรที่เป็นส่วนประกอบของสินค้าแล้ว ประกอบด้วย โปรด คลิกดูรายละเอียด ครับ

2.3 จุดคุ้มทุน (Break Even Point : BEP)

          การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน เป็นการวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับต้นทุนสินค้า จำนวนสินค้าที่ขาย และกำไรจากการขายสินค้าเพื่อดูว่ากิจการจะต้องผลิตและขายสินค้าเป็นจำนวนเท่าใดจึงจะคุ้มทุนพอดี ซึ่งจำนวนหน่วยของสินค้าที่ขายหรือปริมาณยอดขายจะทำให้ยอดขายหรือรายได้ของกิจการเท่ากับต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดพอดี เรียกว่า “จุดคุ้มทุน” (Break Even Point) โปรด คลิกดูรายละเอียด ครับ


3. การควบคุมคุณภาพ

3.1 คุณลักษณะ 8 ประการของคุณภาพผลิตภัณฑ์

องค์กรทางธุรกิจจะสามารถผลิตสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกต้องดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจในความหมายและองค์ประกอบที่สำคัญของความต้องการของลูกค้าเสียก่อน โดยความต้องการของลูกค้ามีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ

 ความจำเป็น (need) ของลูกค้า หมายถึง คุณสมบัติเชิงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งลูกค้าจำเป็นต้องได้รับจากองค์กรภายใต้เงื่อนไขแห่งข้อตกลงอันหนึ่ง

 ความคาดหวัง (Expectation) ของลูกค้า หมายถึง สิ่งที่ลูกค้าปรารถนาอยากได้รับจากองค์กร อันเป็นส่วนหนึ่งของการบริโภคผลิตภัณฑ์หรือการรับบริการ โปรด คลิกดูรายละเอียด


3.2 การบริหารคุณภาพของผลิตภัณฑ์

          คุณภาพที่ดีของผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งที่ทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ต้องการ แต่อย่างไรก็ดีมุมมองด้านคุณภาพในสายตาของผู้ผลิตและผู้ใช้มักแตกต่างกัน เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการใช้สอยผลิตภัณฑ์ของลูกค้าย่อมแตกต่างกับพันธกิจ(Mission) ในการดำเนินธุรกิจของผู้ผลิต ดังนั้นจะสรุปความสำคัญของคุณภาพในสายตาของผู้ผลิตกับลูกค้า ได้ดังต่อไปนี้ โปรดคลิกดูรายละเอียด ครับ

3.3 หลักเกณฑ์การตัดสินใจในการยอมรับคุณภาพของผลิตภัณฑ์
       
          หลักเกณฑ์การแบ่งประเภทตามระดับความสำคัญของผลิตภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 นัยยะคือ
นัยยะที่ 1 : ด้านความสำคัญเชิงมูลค่าการใช้งาน ( Function )
นัยยะที่ 2 : ด้านความสำคัญพิจารณาจากลักษณะผลิตภัณฑ์ ( Products Characteristic ) และการตรงต่อข้อกำหนด (Standard)


3.4 การวางแผนการชักสิ่งตัวอย่างเพื่อการยอมรับ Sampling Plan

           การชักสิ่งตัวอย่างเพื่อการยอมรับ เป็นวิธีการที่อาศัยหลักทางสถิติ และความน่าจะเป็นในการเลือกสิ่งตัวอย่างจากสิ่งที่ต้องการตัดสินใจ แล้วทดสอบหรือตรวจสอบเพื่อพิจารณาคุณภาพของประชากรนั้นว่าจะยอมรับ (accept) หรือปฏิเสธ (reject) ตามเกณฑ์ที่กำหนด โปรด คลิกดูรายละเอียด ครับ

3.5 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะปฏิบัติการ Operating Characteristic Curve  
          
           หมายถึงเส้นโค้งที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความน่าจะเป็นในการยอมรับผลิตภัณฑ์ กับ ระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้มา (Defectiveหรือ Yield ) เพื่อกำหนดแผนการชักตัวอย่าง โปรด คลิกดูรายละเอียด ครับ


4. การวางแผนการผลิต

4.1 การวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (Planning and Developing a New Product)

          ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสายการผลิตนั้น นักออกแบบวิธีการทำงานจะใช้กระบวนการในแก้ปัญหามาช่วยกำหนดวิธีการผลิตและวิธีการทำงาน เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่และสามารถออกแบบกระบวนการผลิตและวิธีการทำงานได้อย่างเหมาสม ซึ่งขั้นตอนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสายการผลิตจะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆด้วยกัน คือ
1.การวางแผน
2.การเตรียมการผลิต
3.การผลิต

4.2 การวางแผนการผลิต(Production Planning)
        
          จุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนระบบการวางแผนและควบคุมการผลิตคือแผนธุรกิจ (Business Plan) ซึ่งเป็นการวางเป้าหมายการขายของธุรกิจในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า ว่า Business Plan จะวางเป้าหมายในการทำธุรกิจว่าจะไปในทิศทางใด โดยที่มุ่งในหัวข้อต่างๆดังนี้
-  จะขายสินค้า หรือบริการใด
-  ลูกค้ากลุ่มไหนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการขายสินค้า/บริการ
-  อะไรที่จะเป็นจุดขายที่จะทำให้ลูกค้ามาซื้อสินค้าหรือใช้บริการของเรา
-  เงินทุนที่ต้องใช้มากน้อยเพียงไร และจะหามาจากแหล่งทุนใด
-  ผลตอบแทนที่คาดหวังจะได้รับจากการทำธุรกิจ


5. การควบคุมคลังสินค้า

5.1 การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
สินค้าคงคลังมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความสมดุลสำหรับการบริการหรือขบวนการผลิตของโรงงาน เพื่อให้ระดับสินค้าคงคลังต่าสุด โดยไม่กระทบต่อระดับการให้บริการหรือการผลิต โดยปัจจัยนำเข้าของขบวนการผลิตที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคือ วัตถุดิบ ชิ้นส่วนและวัสดุต่างๆ ที่เรียกรวมกันว่าสินค้าคงคลัง ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดของต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด นอกจากนั้นการที่มีสินค้าคงคลังที่เพียงพอยังเป็นการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าได้ทันเวลา จึงเห็นได้ว่าสินค้าคงคลังมีความสาคัญต่อกิจกรรมหลักของธุรกิจเป็นอย่างมาก การบริหารสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพจึงส่งผลกระทบต่อผลกำไรจากการประกอบการโดยตรงและในปัจจุบันนี้มีการนาำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาจัดการข้อมูลของสินค้าคงคลัง เพื่อให้เกิดความถูกต้อง แม่นยำ และทันเวลามากยิ่งขึ้น การจัดซื้อสินค้าคงคลังมานั้นต้องมีคุณสมบัติที่ตรงตามความต้องการ ปริมาณเพียงพอ ราคาเหมาะสม ทันเวลาที่ต้องการโดยซื้อจากผู้ขายที่ไว้วางใจได้ และนำส่งยังสถานที่ๆถูกต้องตามหลักการจัดซื้อที่ดีที่สุด เป็นจุดเริ่มต้นของการบริหารสินค้าคงคลัง การจัดการสินค้าคงคลังมีวัตถุประสงค์หลักอยู่ 2 ประการใหญ่ คลิกดูรายละเอียด


5.2 ระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control System)

          ภาระงานอันหนักประการหนึ่งของการบริหารสินค้าคงคลัง คือ การลงบัญชีและตรวจนับสินค้าคงคลัง เพราะแต่ละธุรกิจจะมีสินค้าคงคลังหลายชนิด แต่ละชนิดอาจมีความหลากหลาย เช่น ขนาดรูปถ่าย สีผ้า ซึ่งทำให้การตรวจนับสินค้าคงคลังต้องใช้พนักงานจำนวนมาก เพื่อให้ได้จำนวนที่ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อที่จะได้ทราบว่าชนิดสินค้าคงคลังที่เริ่มขาดมือจะต้องซื้อมาเพิ่ม และปริมาณการซื้อที่เหมาะสม ระบบการควบคุมสินค้าคงคลังที่มีอยู่ 3 วิธี คลิกดูรายละเอียด



5.3 อัตราการหมุนเวียนของสินค้า (Inventory Turnover) 

          สามารถใช้เป็นดัชนีในการวัดจำนวนครั้งในการขายสินค้าคงเหลือของกิจการในรอบ ปี โดยผลลัพธ์จะเป็นจำนวนครั้งต่อปีเช่น 10 ครั้งต่อปี 11 ครั้งต่อปี โดยจำนวนครั้งออกมาสูงแสดงว่ากิจการมีการหมุนเวียนของสินค้าที่ดี (ทำการขายได้มากครั้งในรอบ ปี) ในทางตรงกันข้ามถ้าออกมาต่ำแสดงว่ากิจการจะต้องทำการสั่งสินค้าให้น้อยลงแต่ทว่าสั่งให้บ่อยครั้งมากขึ้น โปรด คลิกดูรายละเอียด ครับ