การสูญเสีย 8 ประการที่แฝงอยู่ในกระบวนการผลิต
ในเชิงอุตสาหกรรม สามารถแยกแยะการสูญเสียที่เกิดขึ้นหรือแฝงอยู่ในขบวนการผลิตออกเป็น 8 ชนิด ดังนี้
1. การสูญเสียที่เกิดจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction) 2. การสูญเสียที่เกิดจากการผลิตของเสีย (Defect) 3. การสูญเสียที่เกิดจาการรอคอยหรือความล่าช้า (Waiting / Delay) 4. การสูญเสียที่เกิดจากการเก็บวัสดุสินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็น (Inventory / WIP) 5. การสูญเสียที่เกิดจากการขนส่ง / ขนย้าย (Transportation Loss) 6. การสูญเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต (Process Loss) 7. การสูญเสียที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion Loss) 8. การสูญเสียที่เกิดจากการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ (Energy In-efficiency)
รายละเอียดของการสูญเสีย
1. การสูญเสียที่เกิดจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction) การผลิตที่เกินจำนวนที่กำหนดในแผนการผลิต ถือเป็นการผลิตที่มากเกินไปทำให้มีการใช้วัตถุดิบและแรงงานเกินความจำเป็นวัตถุดิบถูกแปรเปลี่ยนเป็นงานคงค้างในสายการผลิต (WIP) ต้องการการขนส่ง เคลื่อนย้าย พื้นที่เก็บรักษา และทำให้คนงานทำงานเกินความจำเป็น
2. การสูญเสียที่เกิดจากการผลิตของเสีย (Defect) การทำของเสียไม่ได้สร้างการสูญเสียเฉพาะสถานีงานที่ทำของเสียเท่านั้น แต่นั่นคือการสูญเสียคุณค่างาน เสียเวลาของแรงงานของสถานีก่อนหน้าที่ทำชิ้นงานส่งให้ สูญเสียวัตถุดิบที่ใช้ สูญเสียเวลารอคอยของสถานีงานที่ต้องรับช่วงงานไปทำต่อ
กระบวนการของการปรับปรุงคุณภาพโดยการป้องกันมีดังนี้
1. ค้นหาของเสียก่อนถึงมือลูกค้า 2. หาความถี่ของของเสียที่ตรวจพบ 3. หาสาเหตุของการทำของเสียที่ค้นพบ 4. สาเหตุถูกขจัดให้หมดอย่างถาวร 5. ปรับปรุงการออกแบบของผลิตภัณฑ์
3. การสูญเสียที่เกิดจาการรอคอยหรือความล่าช้า (Waiting / Delay) การรอคอย ถือเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาส เพราะสูญเสียรายได้จากการผลิตสินค้าเพื่อขายได้น้อยลงสุญเสียในแง่ของ Man-hours การรอคอย เกิดจากสาเหตุต่างๆ กัน เช่น อาจมีผลมาจากกระบวนการผลิตขาดความสมดุล เนื่องจากการวางแผนที่ไม่ถูกต้อง ความล่าช้าของการส่งวัตถุดิบ / ชิ้นส่วน การใช้เวลานานในการติดตั้งเครื่องจักร เป็นต้น เมื่อเกิดปัญหาการรอคอย / ความล่าช้า การแก้ปัญหาคงต้องเริ่มจากการพิจารณาทบทวนขบวนการผลิต เพื่อหาทางลดเวลาการรอคอยหรือความล่าช้าลง การลดเวลาการรอคอย สามารถทาได้โดย 3.1 วางแผนการทางานในลักษณะขนาน คือ การทางานไปพร้อมๆ กัน 3.2 วางแผนใช้เครื่องจักรให้ได้ประโยชน์เต็มที่ 3.3 มีแผนบารุงรักษาเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ มีการดูแลทำความสะอาดและความเรียบร้อย เช่น การทำ 5 ส.
4. การสูญเสียที่เกิดจากการเก็บวัสดุสินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็น (Inventory / WIP) สาเหตุที่มีการสะสมสินค้าคงคลังของ WIP ไว้เป็นจำนวนมาก เกิดจาก 4.1 การวางแผนและกำหนดตารางเวลาทำงานไม่ดี 4.2 ปัญหาจากการขนส่งระยะไกล 4.3 ปัญหาการสื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน 4.4 ปัญหาจากการเก็บของไม่เป็นระเบียบ 4.5 ขาดความสามารถในการทำงานให้ได้ตามมาตรฐาน 4.6 การผลิตของเสียจำนวนมากทำให้ต้องสต๊อก WIP เผื่อไว้มาก ข้อแนะนำสาหรับการลดระดับสินค้าคงคลัง WIP มีดังนี้ 1. แยกและขจัดวัสดุที่ล้าสมัยออกจากพื้นที่เก็บสินค้า สามารถใช้วิธีการ 5 ส. เข้าช่วยได้ 2. อย่าผลิต WIP เกินความต้องการของกระบวนการผลิตต่อไป 3. อย่าซื้อวัตถุดิบจำนวนมากโดยไม่จาเป็น 4. พยายามปรับการผลิตเป็นแบบ Small Lots คือผลิตตามคำสั่ง / ความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก
5. การสูญเสียที่เกิดจากการขนส่ง / ขนย้าย (Transportation Loss) การขนส่งที่ไม่จำเป็นถือเป็นการสูญเสียอย่างหนึ่ง อาจก่อให้เกิดความต้องการพื้นที่ในการเก็บของ การใช้เครื่องมือ ใช้แรงงานมากขึ้น จึงเป็นการเพิ่มต้นทุน ดังนั้นการนำระบบอัตโนมัติมาช่วยในกระบวนการผลิตจึงเป็นสิ่งจำเป็น และช่วยลดการเคลื่อนย้ายโดยคนได้มาก รวดเร็วและลดอุบัติเหตุอันเกิดจากการเคลื่อนย้ายด้วยมือ ทั้งนี้ทำเลที่ตั้งของโรงงานตลอดจนการออกแบบ Layout / ผังโรงงานที่เหมาะสม ก็มีส่วนสาคัญที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย 6. การสูญเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต (Process Loss) การสูญเสียในกระบวนการผลิตนั้นมีหลายชนิด จำเป็นต้องอาศัยทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องช่วยกันวิเคราะห์และค้นหา โดยเฉพาะข้อเสนอแนะจากฝ่ายผลิต สาเหตุการสูญเสียอาจเกิดจาก 6.1 การไม่ได้ดูแลรักษาเครื่องจักร 6.2 การทำงานด้วยมือ มักมีการข้ามขั้นตอนการทำงาน ประเด็นที่ต้องพิจารณาค้นหาเพื่อการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น คือ 1. การออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยออกแบบให้ผลิตได้ง่ายและง่ายต่อการใช้งาน 2. วิธีการผลิตต้องมีประสิทธิภาพและเกิดการสูญเสียน้อยที่สุด 3. การใช้วิธีการ 5W&1H มาช่วยในการตรวจเช็คกระบวนการทำงานเพื่อให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด 4. สร้างแนวคิดสำหรับปรับปรุงโดยใช้วิธีการ ECRS มาช่วยในการหาทางเลือกในการปรับปรุง
 7. การสูญเสียที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion Loss) ในกระบวนการทำงานจะประกอบไปด้วยการเคลื่อนไหว ซึ่งแต่ละท่าต้องใช้เวลา ดังนั้นหากมีการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นมาก ก็หมายถึงต้องสูญเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ เราสามารถแตกกระบวนการทำงานที่เป็นการเคลื่อนไหวออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อวิเคราะห์ และปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นดังนี้
1. Search : การค้นหา เริ่มจากอาการที่มือหรือร่างการคลำวัตถุสิ่งของ และจบลงที่สิ่งของนั้นถูกค้นพบ 2. Select : การเลือก เริ่มเมื่อมือหรือร่างกายแตะวัตถุสิ่งของหลายชิ้น และวางสิ่งของชิ้นหนึ่งแยกจากกลุ่ม 3. Grasp : การคว้ายึด เริ่มจากอาการที่มือหรือร่างกายแตะและคว้ายึดสิ่งของนั้นไว้ 4. Reach : การเอื้อมถึง เริ่มจากอาการทีมือหรือร่างการเคลื่อนไหวโดยเข้าถึงตัววัตถุ โดยมิได้ทำอะไรกับสิ่งนั้น 5. Move : การเคลื่อนที่ เริ่มจากอาการที่มือหรือร่างกายจับวัตถุสิ่งของเพื่อเคลื่อนที่ เปลี่ยนตำเหน่งของ สิ่งของจากเดิม จบลงที่วางสิ่งของนั้นลงในตำแหน่งที่ต้องการจะเคลื่อนมาวาง 6. Hold : การถือ / พักไว้ เริ่มที่วัตถุสิ่งของถูกทำให้เคลื่อนที่มาไว้ในตำแหน่งหนึ่งที่อยู่เฉยๆ และจบลงเมื่อ มีการเคลื่อนที่อีกครั้ง 7. Release load : การปล่อยมือ เริ่มเมื่อมือหรือร่างกายเริ่มคลายการควบคุมยึดวัตถุสิ่งของและปล่อยมือ 8. Position : การจัดวางตำแหน่ง เริ่มเมื่อมือหรือร่างกายทำให้วัตถุสิ่งของมีการเรียงตัวหรือเปลี่ยนตำแหน่ง 9. Pre-position : การเตรียม คล้ายกับการจัดวางตำแหน่ง แต่เป็นการกระทำที่จัดเรียงชิ้นส่วน /เครื่องมือก่อนใช้งานในที่อีกที่หนึ่ง 10. Inspect : การตรวจ เริ่มเมื่อมือหรือร่างกายรู้สึก /มองเห็นวัตถุสิ่งของและกำหนดคุณภาพของสิ่งของนั้นได้จบลงที่สิ่งของนั้นถูกเห็น /รู้สึกได้ว่าผิดปกติหรือไม่ผิดปกติ 11. Assemble : การประกอบ เริ่มเมื่อมือหรือร่างกายทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ ประกอบติดเข้าด้วยกันเสร็จเมื่อได้ชิ้นส่วนใหม่ขึ้นมา 12. Disassemble: การแยกชิ้นส่วน เริ่มเมื่อมือหรือร่างกายเริ่มแยกชิ้นส่วนที่เป็นหนึ่งเดียวออกเป็นชิ้นย่อย จบลงเมื่อชิ้นงานถูกแยกส่วนสมบุรณ์ 13. Use : การใช้งาน เริ่มเมื่อมือหรือร่างกาย มีการใช้เครื่องมือและควบคุมเครื่อง จบลงที่การใช้งานและการควบคุมเครื่องมือจบลง 14. Unavoidable Delay : คือความล่าช้าที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
15. Avoidable Delay : ความล่าช้าที่หลีกเลี่ยงได้ เริ่มเมื่อมือหรือร่างกายไม่ทำงาน จากการแปรปรวนไปจากวิธีทำงานมาตรฐาน จบลงเมื่อมีการหันกลับมาทำงานตามมาตรฐานปกติดังเดิม
16. Plan : การวางแผน เริ่มเมื่อมือหรือร่างกายอยู่นิ่งเฉยเนื่องจากผู้ปฏิบัติใช้ความคิดเพื่อที่จะตัดสินใจว่าจะทำอย่างไร จบสิ้นเมื่อมีการตัดสินใจทำ 17. Rest to overcome fatigue : การหยุดพักผ่อน เริ่มเมื่อมือหรือร่างกายอยุ่เฉย เกิดจากความเมื่อยล้าจากการทำงานที่เพิ่งเสร็จไปจบลงเมื่อเริ่มมีการทำงานใหม่อีกครั้ง
8. การสูญเสียที่เกิดจากการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ (Energy In-efficiency) พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินการผลิต และเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการผลิต ดังนั้น หากการใช้พลังงานในโรงงานไม่มีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้เกิดความสูญเสียขึ้น ตัวอย่างของการใช้พลังงานให้มีประสิทธีภาพมีดังนี้ ใช้เครื่องควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์ ใช้มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง มีอุปกรณ์ควบคุมค่าดีมานต์/อุปกรณ์ปรับระดับแรงดันไฟฟ้า/อุปกรณ์ควบคุมการใช้พลังงานในระบบแสงสว่าง/บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ มีเครื่องทำความร้อนโดยใช้พลังงานความร้อนจากเครื่องปรับอากาศเป็นต้น
|