1.4 การออกแบบผลิตภัณฑ์และกล่องบรรจุภัณฑ์

การวิเคราะห์ทดสอบวัสดุและผลิตภัณฑ์ในกระบวนการผลิต โดยขอยกตัวอย่าง : การฉีดงานพลาสติก


         ในกระบวนการผลิตสินค้าต่างๆ จำเป็นจะต้องมีขั้นตอนการวิเคราะห์ทดสอบวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมา เพื่อตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงานที่ได้ว่าดีพอสำหรับการนำไปใช้งานหรือไม่ ลำดับของการวิเคราะห์ทดสอบในกระบวนการผลิตมี 3 ลำดับ ดังนี้


1. การทดสอบก่อนการผลิต (Pre-Processing Testing) คือ การทดสอบวัตถุดิบที่จะใช้ในกระบวนการผลิตซึ่งจะทดสอบสมบัติทางกายภาพและทางเคมีที่ต้องนำไปใช้ในการปรับสภาวะในการผลิต เช่น อุณหภูมิการหลอมตัวของพลาสติก เป็นต้น

1.1 สิ่งที่ต้องเตรียมตัวก่อนการทดสอบ

- ต้องเรียนรู้ในการใช้เครื่องมือ และ อุปกรณ์ในการวัดขนาดที่ถูกต้องก่อนการวัดงาน เช่น Vernier, Microscope, Profile Projector เป็นต้น

- ต้องศึกษาคุณสมบัติของวัตถุดิบ เช่น ผงพลาสติก แท่งพลาสติกขนาดเล็กมีการกำหนดอุณหภูมิ เวลา หรือ พารามิเตอร์อื่นๆ เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้ตามต้องการอย่างไร

1.2 ต้องมีการวิเคราะห์ทดสอบในระหว่างการผลิต (In Process Monitoring) หมายถึง การตรวจสอบหรือตรวจวัดชิ้นงานในขณะที่กำลังอยู่ระหว่างกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นการวัดขนาดและการสังเกตชิ้นงานโดยต้องตรวจสอบในสิ่งต่างๆดังนี้

- ภาพถ่ายของชิ้นงานพลาสติกที่กำลังผลิต

- ขนาด รูปร่าง และลักษณะการกระจายของความร้อนในชิ้นงานที่กำลังผลิต

1.3 ต้องมีการวิเคราะห์ทดสอบหลังการผลิต (Product Testing) หมายถึง การทดสอบชิ้นงานที่ได้ออกมาจากกระบวนการผลิตโดยจะตรวจคุณลักษณะ ขนาด รูปร่าง ให้ตรงกับรูปแบบที่ได้ออกแบบไว้และยังต้องทดสอบสมบัติทางกายภาพเพื่อยืนยันว่าชิ้นงานที่ได้นั้นมีความแข็งแรง ทนทานพอสำหรับการนำไปใช้งานตามต้องการหรือไม่ โดยต้องตรวจสอบในสิ่งต่างๆดังนี้

- ขนาด รูปร่าง สมบัติด้านความแข็งแรงในการทนแรงกระแทก


การทำความเข้าใจ การออกแบบการบรรจุภัณฑ์


         บรรจุภัณฑ์มีบทบาทที่สำคัญมากต่อผู้ผลิต ซึ่งเป็นหน้าที่ของนักออกแบบที่ต้องคำนึงถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์แต่ละด้านให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และถูกใจผู้บริโภคมากที่สุด ซึ่งสิ่งสำคัญในการออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้นผู้ออกแบบหรือผู้ผลิตต้องเข้าใจถึง วัตถุประสงค์ของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ องค์ประกอบของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ขั้นตอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การวางแผนเพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์ หรือแม้กระทั้งเทคนิคการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ดังนั้นการบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์นั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการจำหน่ายสินค้าทั้งในด้านการจัดจำหน่ายและการขนส่ง ตลอดจนการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถสู้คู่แข่งทางการค้าในตลาดได้อย่างมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคตได้อย่างยั่งยืน โดยนักออกแบบต้องทำความเข้าใจถึงความหมายดังต่อไปนี้


1 ความหมายหรือนิยามของคำว่าการออกแบบ (Design) และบรรจุภัณฑ์ (Packaging)

2 วัตถุประสงค์ของการออกแบบบรรจุภัณฑ์และหน้าที่และประโยชน์ของบรรจุภัณฑ์

3 ประเภทของบรรจุภัณฑ์

3.1 บรรจุภัณฑ์เฉพาะหน่วย (Individual Package)

3.2 บรรจุภัณฑ์ชั้นใน (Inner Package)

3.3 บรรจุภัณฑ์ชั้นนอกสุด (Outer Package)

3.4 บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Shipping Packaging)


การทดสอบวัสดุและบรรจุภัณฑ์ Packaging Testing


         การผลิตสินค้าโดยทั่วไปมักมุ่งเน้นให้ความสำคัญเฉพาะที่ตัวผลิตภัณฑ์ แต่ในความเป็นจริงมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นั่นคือบรรจุภัณฑ์ เพราะนอกจากบรรจุภัณฑ์จะทำหน้าที่ในการบรรจุรองรับตัวสินค้าแล้วยังช่วยในการปกป้องคุ้มครองสินค้าไม่ให้ได้รับความเสียหายหรือช่วยให้สินค้ามีอายุการเก็บที่นานขึ้น นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์สมัยใหม่ยังเป็นส่วนช่วยในด้านการตลาด เช่น เป็นสื่่อในการประชาสัมพันธ์และสร้างจุดขายให้กับสินค้า ดังนั้นการ การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ดีและเหมาะสมกับสินค้าจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่อาจมองข้าม

         การทดสอบบรรจุภัณฑ์หรือวัสดุที่จะใช้นำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยในการพิจารณาตัดสินใจเลือกใช้หรือพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ได้คุณภาพตามที่ต้องการ


1มาตรฐานที่ใช้ในประเทศไทยและระดับสากล


         วิธีการทดสอบก็จำเป็นต้องกระทำด้วยวิธีการที่เป็นมาตรฐานหรือเป็นวิธีการทดสอบตามมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศหรือระดับสากล เพื่อให้การทดสอบเป็นไปในแนวทางเดียวกัน สามารถนำผลมาเปรียบเทียบกันได้ มาตรฐานต่างๆ ที่นิยมใช้กันอยู่มีดังนี้

- ISO (International Organization for Standardization)

- ASTM (American Society for Testing Materials)

- JIS (Japanese Industrial Standard)

- มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)


การทดสอบวัสดุและบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Transport Packaging Testing)


วิธีการทดสอบที่นิยมใช้กันอยู่มีดังนี้


1. ความต้านแรงกระแทกเมื่อตก (Drop Resistance)

- ตรวจสภาพทั่วไป (Visual inspection)

- ขนาดตัวอย่าง (Weight of sample)

- บันทึกค่าความรุนแรงของการตกกระแทก (Force recording)

2. ความต้านแรงสั่นสะเทือนที่ความถี่เดียว (Vibration Resistance: fix frequency)

- ตัวอย่างที่มีน้าหนัก (Sample weight)

3. ความต้านแรงสั่นสะเทือนแบบ Sine และ Random (Vibration testing of shipping containers)

- Sine vibration

- Random vibration

4. ความทนแรงกระแทก (Impact Resistance)

5. ความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ (Temperature Resistance: temperature cycle test)



บทสรุปของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ มีดังนี้


1. เพื่อช่วยปกป้องคุ้มครองและรักษาคุณภาพสินค้า

2. เพื่อเป็นตัวชี้บ่ง และสื่อสารรายละเอียดสินค้า ดึงดูดผู้บริโภค ให้แสดงถึงภาพลักษณ์

3. เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถเอื้อประโยชน์ด้านหน้าที่ใช้สอยได้ดี มีความปลอดภัย ประหยัดและมีประสิทธิภาพ

4. เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถสื่อสาร และสร้างผลกระทบต่อผู้บริโภคโดยใช้ความรู้แขนงศิลปะเข้ามาสร้างคุณ ลักษณะ เช่น มีเอกลักษณ์ลักษณะพิเศษที่ดึงดูดและสร้างการจดจำ ตลอดจนเข้าถึงความหมายและคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์