พื้นฐานต้นทุนผลิตภัณฑ์ 1. หลักการและเหตุผล บุคลากรที่ปฏิบัติงานในฝ่ ายผลิต, วางแผนการผลิตและฝ่ายสนับสนุนการผลิตควรที่จะต้องมีความรู้พึ้นฐานเกี่ยวกับต้นทุนของผลิตภัณฑ์เพื่อที่จะควบคุมการผลิตสินค้าให้ได้ต่่ำกว่าราคาขาย โดยที่ต้องรวมถึงต้นทุนงวดด้วย ดังนั้นหลักสูตรพื้นฐานนี้จึงเป็นหลักสูตรที่จะยกระดับมาตรฐานความเข้าใจเพื่อให้บุคลากรมีความสามารถที่จะวิเคราะห์ผลต่างเกี่ยวกับการผลิต ซึ่งได้แก่วัตถุดิบ ค่าแรงงานทางตรง ค่าใช้จ่ายในการผลิต และสินค้ามีตำหนิหรือเสียในระบบต้นทุนงานสั่งทำเป็นต้น
2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดของต้นทุนมาตรฐานและวิธีการกาหนดต้นทุนมาตรฐาน 2.2 เพื่อให้เข้าใจสามารถวิเคราะห์ผลต่างเกี่ยวกับการผลิต ได้แก่วัตถุดิบค่าแรงงานทางตรง ค่าใช้จายใน 2.2 เพื่อให้เข้าใจสามารถวิเคราะห์ผลต่างเกี่ยวกับการผลิต ได้แก่วัตถุดิบค่าแรงงานทางตรง ค่าใช้จายในการผลิตและสินค้ามีตำหนิหรือเป็นของเสียซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบต้นทุนงานสั่งทำที่ต้องเบิกชดเชย
การจำแนกต้นทุนตามลักษณะส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบของต้นทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด (Cost of a Manufactured Product / Cost of Goods) จะประกอบด้วยวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต ซึ่งถ้าพิจารณาในด้านทรัพยากรที่เป็นส่วนประกอบของสินค้าแล้ว ประกอบด้วย
1. วัตถุดิบ (Materials) วัตถุดิบนับว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญของการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปโดยทั่วไป ซึ่งต้นทุนที่เกี่ยวกับการใช้วัตถุดิบในการผลิตสินค้าอาจจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
2. ค่าแรงงาน (Labor) ค่าแรงงาน หมายถึง ค่าจ้างหรือผลตอบแทนที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือคนงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าโดยปกติแล้วค่าแรงงานจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ค่าแรงงานทางตรง (Direct Labor) และค่าแรงงานทางอ้อม (Indirect Labor)
3. ค่าใช้จ่ายการผลิต (Manufacturing Overhead) ค่าใช้จ่ายการผลิต หมายถึง แหล่งรวบรวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าซึ่งนอกเหนือจากวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง เช่น วัตถุดิบทางอ้อม ค่าแรงงานทางอ้อม ค่าใช้จ่ายในการผลิตทางอ้อมอื่น ๆ ได้แก่ ค่าน้้ำค่าไฟ ค่าเช่า ค่าเสื่อมราคา ค่าประกันภัย ค่าภาษี เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็จะต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการดำเนินการผลิตในโรงงานเท่านั้น ไม่รวมถึงเงินเดือน ค่าเช่า ค่าไฟฟ้า ค่าเสื่อมราคา ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานในสำนักงานดังนั้น ค่าใช้จ่ายการผลิตจึงถือเป็นที่รวมของค่าใช้จ่ายในการผลิตทางอ้อมต่าง ๆ (Cost of Indirect Manufacturing Costs) นอกจากนี้ ยังจะพบว่าในบางกรณีก็มีการเรียกค่าใช้จ่ายการผลิต ในชื่ออื่น ๆเช่น ค่าใช้จ่ายโรงงาน (Factory Overhead) โสหุ้ยการผลิต (Manufacturing Burden) ต้นทุนผลิตทางอ้อม (Indirect Costs) เป็นต้น การจำแนกต้นทุนตามความสัมพันธ์กับระดับของกิจกรรม การจำแนกต้นทุนความสัมพันธ์กับระดับของกิจกรรมนี้ บางครั้งเราก็เรียกว่า “การจำแนกต้นทุนตามพฤติกรรมของต้นทุน (Cost Behavior) ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นการวิเคราะห์จำนวนของต้นทุนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิต หรือระดับของกิจกรรมที่เป็นตัวผลักดันให้เกิดต้นทุน (Cost Driver) ในการผลิตทั้งที่เกี่ยวกับการวางแผนการควบคุม การประเมิน และวัดผลการดำเนินงาน การจำแนกต้นทุนตามความสัมพันธ์กับระดับของกิจกรรม เราสามารถที่จำแนกต้นทุนได้ 3 ชนิด คือ ต้นทุนผันแปร ต้นทุนคงที่ ต้นทุนผสม แต่เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาต้นทุนเบื้องต้นเข้าใจได้ง่ายขึ้นในที่นี้จะขอกล่าวถึง ต้นทุนผันแปร ต้นทุนคงที่ เท่านั้น 1. ต้นทุนผันแปร (Variable Costs) หมายถึง ต้นทุนที่จะมีต้นทุนรวมเปลี่ยนแปลงไปตามสัดส่วนของการ เปลี่ยนแปลงในระดับกิจกรรมหรือปริมาณการผลิต ในขณะที่ต้นทุนต่อหน่วยจะคงที่เท่ากันทุก ๆ หน่วยโดยทั่วไปแล้วต้นทุนผันแปรนี้จะสามารถควบคุมได้โดยแผนกหรือหน่วยงานที่ทำให้เกิดต้นทุนผันแปรนั้นตัวอย่างเช่น ซื้อของมา 1 หน่วย ราคา 10 บาท ถ้าซื้อมา 50 หน่วย ราคาย่อมเป็น 10x50 = 500บาท เป็นต้น 2. ต้นทุนคงที่ (Fixed Costs) คือ ต้นทุนที่มีพฤติกรรมคงที่ หมายถึง ต้นทุนรวมที่มิได้เปลี่ยนแปลงไปตามระดับของการผลิตในช่วงของการผลิตระดับหนึ่ง แต่ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยก็จะเปลี่ยนแปลงในทางลดลงถ้าปริมาณการผลิตเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ต้นทุนคงที่ยังแบ่งออกเป็นต้นทุนคงที่อีก 2 ลักษณะ คือ ต้น ทุนคงที่ระยะยาว (Committed Fixed Cost) เป็นต้นทุนคงที่ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในระยะสั้น เช่น สัญญาเช่าระยะยาว ค่าเสื่อมราคา เป็นต้น |
เทคนิคการทำงานในโรงงาน > 2. การควบคุมต้นทุน >