3. การควบคุมคุณภาพ

3.1 คุณลักษณะ 8 ประการของคุณภาพผลิตภัณฑ์

องค์กรทางธุรกิจจะสามารถผลิตสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกต้องดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจในความหมายและองค์ประกอบที่สำคัญของความต้องการของลูกค้าเสียก่อน โดยความต้องการของลูกค้ามีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ

 ความจำเป็น (need) ของลูกค้า หมายถึง คุณสมบัติเชิงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งลูกค้าจำเป็นต้องได้รับจากองค์กรภายใต้เงื่อนไขแห่งข้อตกลงอันหนึ่ง

 ความคาดหวัง (Expectation) ของลูกค้า หมายถึง สิ่งที่ลูกค้าปรารถนาอยากได้รับจากองค์กร อันเป็นส่วนหนึ่งของการบริโภคผลิตภัณฑ์หรือการรับบริการ

คลิกดูรายละเอียด


3.2 การบริหารคุณภาพของผลิตภัณฑ์

       คุณภาพที่ดีของผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งที่ทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ต้องการ แต่อย่างไรก็ดีมุมมองด้านคุณภาพในสายตาของผู้ผลิตและผู้ใช้มักแตกต่างกัน เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการใช้สอยผลิตภัณฑ์ของลูกค้าย่อมแตกต่างกับพันธกิจ(Mission) ในการดำเนินธุรกิจของผู้ผลิต ดังนั้นจะสรุปความสำคัญของคุณภาพในสายตาของผู้ผลิตกับลูกค้า ได้ดังต่อไปนี้ คลิกดูรายละเอียด

3.3 หลักเกณฑ์การตัดสินใจในการยอมรับคุณภาพของผลิตภัณฑ์
       
       หลักเกณฑ์การแบ่งประเภทตามระดับความสำคัญของผลิตภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 นัยยะคือ
นัยยะที่ 1 : ด้านความสำคัญเชิงมูลค่าการใช้งาน ( Function )
นัยยะที่ 2 : ด้านความสำคัญพิจารณาจากลักษณะผลิตภัณฑ์ ( Products Characteristic ) และการตรงต่อข้อกำหนด (Standard)



3.4 การวางแผนการชักสิ่งตัวอย่างเพื่อการยอมรับ Sampling Plan

       การชักสิ่งตัวอย่างเพื่อการยอมรับ เป็นวิธีการที่อาศัยหลักทางสถิติ และความน่าจะเป็นในการเลือกสิ่งตัวอย่างจากสิ่งที่ต้องการตัดสินใจ แล้วทดสอบหรือตรวจสอบเพื่อพิจารณาคุณภาพของประชากรนั้นว่าจะยอมรับ (accept) หรือปฏิเสธ (reject) ตามเกณฑ์ที่กำหนด คลิกดูรายละเอียด


3.5
เส้นโค้งลักษณะเฉพาะปฏิบัติการ Operating Characteristic Curve  

       หมายถึงเส้นโค้งที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความน่าจะเป็นในการยอมรับผลิตภัณฑ์ กับ ระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้มา (Defectiveหรือ Yield ) เพื่อกำหนดแผนการชักตัวอย่าง คลิกดูรายละเอียด




หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมโปรด - ติดต่อเรา

-    จิตสำนึกคุณภาพของหัวหน้างาน
-    การลดของเสียให้เป็นศูนย์