หลักเกณฑ์การแบ่งประเภทตามระดับความสำคัญของผลิตภัณฑ์ นัยยะที่ 1 : ด้านความสำคัญเชิงมูลค่าการใช้งาน ( Function )
แบ่งกลุ่มตามการใช้งาน ยกตัวอย่าง เช่น ระบบการ ปิด-เปิด จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่ม A = มีระบบการเปิด-ปิดที่ซับซ้อน หลายขั้นตอน เช่น มีระบบล๊อค , มีการสไลด์ , มีระบบไฟฟ้าเกี่ยวข้อง กลุ่ม B = มีระบบการเปิดปิดที่ไม่ซับซ้อน เช่น มีบานพับ ,สปริง กลุ่ม C = มีระบบการเปิด-ปิดง่ายเป็นแบบครอบหรือสวม นัยยะที่ 2 : พิจารณาจากลักษณะผลิตภัณฑ์ (Products Characteristic) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่ม A = ผลิตภัณฑ์เป็นที่นิยม,ผลิตจำนวนจำกัด,Limited Edition,ผลิตครั้งแรก, ขั้นตอนการผลิตยากมีหลายขั้นตอนในการทำงาน,มีชิ้นส่วนโลหะ,มีงานไม้ทำสี, ทำจากวัตถุดิบหนังแท้,ราคาค่อนข้างสูง เช่น ราคาตั้งแต่ 1,500 บาทขึ้นไป กลุ่ม B = สั่งผลิตซ้ำ,ขั้นตอนการผลิตไม่ยุ่งยากไม่หลายขั้นตอน,ราคาขายอยู่ระดับกลาง เช่น ราคาตั้งแต่ 600 - 1400 บาท,วัตถุดิบประเภทพลาสติก,ไม้ กลุ่ม C = ขั้นตอนการผลิตง่ายและสั้น ราคาขายต่ำกว่า 600 บาท ,วัตถุดิบที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นกระดาษหรือผ้า มาตรฐานการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ 1. แบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ตามระดับความสำคัญ 3. หลักเกณฑ์และมาตรฐานที่ใช้ในการตรวจสอบ 4. ระดับความรุนแรงของตำหนิ/ข้อบกพร่อง
5. หลักเกณฑ์การตัดสินใจในการยอมรับผลิตภัณฑ์จะพิจารณาจากหัวข้อหลักดังนี้ 1) หลักเกณฑ์การแบ่งประเภทตามระดับความสำคัญของผลิตภัณฑ์ AA, AB… 2) การแบ่งพื้นที่การยอมรับของผลิตภัณฑ์ ( Zone A, B, C ) 3) พิจารณาจากลำดับของความรุนแรงของตำหนิ Critical, Major, Minor) |
เทคนิคการทำงานในโรงงาน > 3. การควบคุมคุณภาพ >