การวางแผนธุรกิจ (Business Planning) จุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนระบบการวางแผนและควบคุมการผลิตคือแผนธุรกิจ (Business Plan) ซึ่งเป็นการวางเป้าหมายการขายของธุรกิจในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า ว่า Business Plan จะวางเป้าหมายในการทำธุรกิจว่าจะไปในทิศทางใด โดยที่มุ่งในหัวข้อต่างๆดังนี้
ในระบบการวางแผนและควบคุมการผลิต (Production Planning) และวัสดุคงคลัง (Inventory)
แต่ละระดับของการวางแผนจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนที่สำคัญคือ
ทัั้ง 2 ส่วนเป็นแผนที่สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการ (อุปสงค์)
และสินค้าหรือบริการที่พร้อมจะขายในตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการ (อุปทาน) ในกระบวนการนี้แผนการดำเนิน งานในรูปแบบของแผนการผลิตและแผนการขายจะถูกวางไปพร้อมๆกันเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีสินค้าหรือบริการมาตอบสนองความต้องการที่เกิดขึ้น ประกอบด้วยแผนการผลิต(Production Plan) และแผนการขาย (Sale Plan) แผนผังที่ 1 การกำหนดตารางการผลิตหลัก (Master
Production Scheduling) ตารางการผลิตหลักจะกำหนดจำนวนของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดที่จะต้องทำการผลิตให้แล้วเสร็จตามช่วงเวลา ต่าง ๆ ตารางการผลิตหลักนี้ก็จะถูกนำไปกำหนดแผนสั่งซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนชนิดต่างๆ จากผู้ผลิตภายนอก กำหนดตารางการผลิตสำหรับชิ้นส่วนที่จะทำในโรงงาน โดยเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องได้จังหวะและสอดคล้องกับ วันกำหนดส่งผลิตภัณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ในตารางหลัก (Master Scheduling) และต้องสอดคล้องกับกําลังการผลิตของโรงงาน ซึ่งไม่ควรจะให้มีจำนวนของผลิตภัณฑ์มากกว่าความสามารถของโรงงานที่จะทำการผลิตได้ ตารางการผลิตหลักจะแสดงถึงชนิดและจำนวนผลผลิต
ที่จะต้องจัดหามาในแต่ละช่วงเวลาโดยจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังนี้
- ผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดใดบ้าง
- ผลิตเมื่อไร
- จะเสร็จเมื่อไร
- รายละเอียดของวัสดุที่ต้องการใช้
- ข้อมูลเกี่ยวกับการวางแผนกำลังการผลิต
การวางแผนการผลิต / กำลังการผลิต (Production Planning / Capacity Planning) มี 2 แบบคือ 2. การวางแผนความต้องการกำลังการผลิต (Capacity Requirements Planning: CRP) ใช้สำหรับเปรียบเทียบกำลังการผลิตที่ต้องการกับแผนความต้องการวัสดุกับทรัพยากรโดยละเอียด การวางแผนความต้องการกำลังการผลิต จะเกี่ยวข้องกับการคำนวณหากำลังการผลิตของเครื่องจักร และ แรงงานที่ต้องการ ในการผลิตชิ้นส่วนให้เสร็จตามจำนวนและกำหนดเวลาที่ได้กำหนดไว้ในทุกขั้นตอนของการผลิตหลัก การวางแผนความต้องการกำลังการผลิตคล้ายกับการวางแผนกำลังการผลิตขั้นต้น เพียงแต่การวางแผนความต้องการกำลังการผลิตจะคำนวณทุกหน่วยผลิตที่ผลิตชิ้นส่วนหรือวัสดุทุกรายการ ส่วนการวางแผนกำลังการผลิตขั้นต้นจะคำนวณกำลังการผลิตที่ต้องการเฉพาะจากหน่วยผลิตที่สำคัญเท่านั้น สำหรับการออกใบสั่งผลิตจากระบบ MRP จะมีความน่าเชื่อถือก็ต่อเมื่อได้ผ่านการกลั่นกรองด้านกำลังการผลิตว่ามีเพียงพอต่อความต้องการที่จะผลิต |
เทคนิคการทำงานในโรงงาน > 4. การวางแผนผลิต >