5.1 การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) สินค้าคงคลังมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความสมดุลสำหรับการบริการหรือขบวนการผลิตของโรงงาน เพื่อให้ระดับสินค้าคงคลังต่าสุด โดยไม่กระทบต่อระดับการให้บริการหรือการผลิต โดยปัจจัยนำเข้าของขบวนการผลิตที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคือ วัตถุดิบ ชิ้นส่วนและวัสดุต่างๆ ที่เรียกรวมกันว่าสินค้าคงคลัง ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดของต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด นอกจากนั้นการที่มีสินค้าคงคลังที่เพียงพอยังเป็นการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าได้ทันเวลา จึงเห็นได้ว่าสินค้าคงคลังมีความสาคัญต่อกิจกรรมหลักของธุรกิจเป็นอย่างมาก การบริหารสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพจึงส่งผลกระทบต่อผลกำไรจากการประกอบการโดยตรงและในปัจจุบันนี้มีการนาำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาจัดการข้อมูลของสินค้าคงคลัง เพื่อให้เกิดความถูกต้อง แม่นยำ และทันเวลามากยิ่งขึ้น การจัดซื้อสินค้าคงคลังมานั้นต้องมีคุณสมบัติที่ตรงตามความต้องการ ปริมาณเพียงพอ ราคาเหมาะสม ทันเวลาที่ต้องการโดยซื้อจากผู้ขายที่ไว้วางใจได้ และนำส่งยังสถานที่ๆถูกต้องตามหลักการจัดซื้อที่ดีที่สุด เป็นจุดเริ่มต้นของการบริหารสินค้าคงคลัง การจัดการสินค้าคงคลังมีวัตถุประสงค์หลักอยู่ 2 ประการใหญ่ คลิกดูรายละเอียด 5.2 ระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control System) ภาระงานอันหนักประการหนึ่งของการบริหารสินค้าคงคลัง
คือ
การลงบัญชีและตรวจนับสินค้าคงคลัง
เพราะแต่ละธุรกิจจะมีสินค้าคงคลังหลายชนิด
แต่ละชนิดอาจมีความหลากหลาย
เช่น
ขนาดรูปถ่าย
สีผ้า
ซึ่งทำให้การตรวจนับสินค้าคงคลังต้องใช้พนักงานจำนวนมาก
เพื่อให้ได้จำนวนที่ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด
เพื่อที่จะได้ทราบว่าชนิดสินค้าคงคลังที่เริ่มขาดมือจะต้องซื้อมาเพิ่ม
และปริมาณการซื้อที่เหมาะสม
ระบบการควบคุมสินค้าคงคลังที่มีอยู่
3 วิธี คลิกดูรายละเอียด 5.3 อัตราการหมุนเวียนของสินค้า (Inventory Turnover) อัตราการหมุนเวียนของสินค้า (Inventory Turnover) สามารถใช้เป็นดัชนีในการวัดจำนวนครั้งในการขายสินค้าคงเหลือของกิจการในรอบ 1 ปี โดยผลลัพธ์จะเป็นจำนวนครั้งต่อปีเช่น 10 ครั้งต่อปี 11 ครั้งต่อปี โดยจำนวนครั้งออกมาสูงแสดงว่ากิจการมีการหมุนเวียนของสินค้าที่ดี (ทำการขายได้มากครั้งในรอบ 1 ปี) ในทางตรงกันข้ามถ้าออกมาต่ำแสดงว่ากิจการจะต้องทำการสั่งสินค้าให้น้อยลงแต่ทว่าสั่งให้บ่อยครั้งมากขึ้น คลิกดูรายละเอียด 5.4 การวัดประสิทธิภาพในการควบคุมสินค้าคงคลัง คำถามหนึ่งที่มักถูกถามเสมอเมื่อเข้าไปวินิจฉัย/ตรวจสอบระบบการจัดการควบคุมสินค้าคงคลังในองค์กรก็คือ “บริษัทของเราเก็บสต็อกไว้มากเกินไปหรือไม่เมื่อเทียบกับคู่แข่ง” หรือ “บริษัทของเราควรเก็บสต็อกไว้เท่าไร” คำถามนี้เป็นคำถามที่ตอบได้ไม่ง่ายนัก เหมือนกับคำถามที่บริษัทมักถามว่า “เราควรตั้งราคาสินค้าที่เท่าไร” การตอบคำถามเหล่านี้นั้นต้องพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ มากมายทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในของบริษัทประกอบกัน คลิกดูรายละเอียด หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมโปรด - ติดต่อเรา - ระบบขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด (Economic Order Quantity หรือ EOQ) |