5.3 อัตราการหมุนเวียนของสินค้า (Inventory Turnover)

          ในการดำเนินธุรกิจ มีหลากหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ปัจจัยหนึ่งที่ต้องพิจารณาคือ การหมุนเวียนของสินค้า  ซึ่งบอกถึงความสามารถในการบริหารจัดการ  โดย สามารถคำนวณได้จาก

อัตราการหมุนเวียนของสินค้า  =  ต้นทุนขาย / สินค้าคงเหลือเฉลี่ย
Inventory Turnover  =  Cost of Goods Sold / Average Inventory

          อัตราการหมุนเวียนของสินค้า (Inventory Turnover) สามารถใช้เป็นดัชนีในการวัดจำนวนครั้งในการขายสินค้าคงเหลือของกิจการในรอบ 1 ปี โดยผลลัพธ์จะเป็นจำนวนครั้งต่อปีเช่น 10 ครั้งต่อปี 11 ครั้งต่อปี โดยจำนวนครั้งออกมาสูงแสดงว่ากิจการมีการหมุนเวียนของสินค้าที่ดี (ทำการขายได้มากครั้งในรอบ 1 ปี) ในทางตรงกันข้ามถ้าออกมาต่ำแสดงว่ากิจการจะต้องทำการสั่งสินค้าให้น้อยลงแต่ทว่าสั่งให้บ่อยครั้งมากขึ้น


ตัวอย่างเช่น: ถ้ากิจการท่านมีอัตราการหมุนเวียนของสินค้าเท่ากับ 11 ครั้งต่อปีแสดงว่ากิจการท่านสามารถทำการขายได้ 11 ครั้งต่อปี หรือประมาณ 1 ครั้งต่อเดือน (1 ปีมี 12 เดือน)แต่ถ้าหากว่าอัตราการหมุนเวียนของสินค้าของคู่แข่งเท่ากับ 20 ครั้งต่อปีกิจการท่านจำเป็นที่จะต้องเร่งยุทธศาสตร์ทางการขายให้มีจำนวนครั้งมากขึ้น เป็นต้น

          เนื่องจากอัตราการหมุนของสินค้าเป็นปัจจัยสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงระยะเวลาที่ธุรกิจใช้ในการสร้างรายได้  โดยเปรียบเทียบได้กับเงินลงทุนในสินค้าที่ธุรกิจจ่ายไป  ซึ่งการที่รอบระยะเวลาการหมุนของสินค้าเร็วกว่า  ย่อมแสดงให้เห็นว่า ธุรกิจไม่ต้องนำเงินลงทุนไปจมกับสินค้าคงเหลือเป็นระยะเวลานาน  อีกนัยหนึ่งก็คือ  การลดจำนวนเงินทุนที่ใช้ในการจัดหาสินค้า เป็นการลดต้นทุนไปในตัว  ซึ่งหมายถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเงินทุนและสินทรัพย์ที่มีอยู่  และยังเป็นการลดภาระในการเก็บสินค้า  ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่หรือค่าเสียโอกาสในการใช้พื้นที่อีกด้วย

          สำหรับธุรกิจที่ต้องการกำไรขั้นต้น
20-30% การพิจารณาถึงการหมุนของสินค้าคงเหลือเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมวัตถุประสงค์ดังกล่าว  ซึ่งควรอยู่ที่ 5-6 หรือมากกว่านั้น  เพราะนั่นบ่งชี้ว่า  ธุรกิจมีความสามารถในการกระจายสินค้าและถ่ายเทสินค้าไปสู่ลูกค้าได้รวดเร็ว  เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายต่างอาทิ

-    ค่าใช้จ่ายในการดูแลสินค้า การบริหารพื้นที่ในโกดั
-    ต้นทุนที่เกิดจากความล้าสมัย จะมึค่าด้อยค่ามาเกี่ยวด้วย
-    ต้นทุนของจำนวนเงินที่ใช้ในการลงทุน

          อัตราการหมุนเวียนของสินค้าหากพิจารณาในรายละเอียด  ก็ไม่ได้หมายความว่าสินค้าทุกตัวต้องมีรอบการหมุนเท่ากัน  บางสินค้าอาจหมุนเร็ว  บางสินค้าอาจหมุนช้ากว่า  แต่ทั้งในโดยรวมเฉลี่ยแล้ว ควรมีระดับการหมุนที่เท่าหรือสูงกว่าค่าเฉลี่ยทางอุตสาห
กรรม

          ดังนั้นการคำนวณ หาอัตราหมุนเวียนสินค้าดังกล่าว  มีผลออกมาเป็นค่าตัวเลข  ซึ่งบอกถึงจำนวนครั้งที่มีการผลิตและขายสินค้าในช่วงระยะเวลานั้น  อัตราส่วนที่สูงแสดงถึงสินค้าถูกส่งถึงมือลูกค้าได้เร็วกว่า   ซึ่งหากอัตราส่วนนี้ลดลงแสดงว่าบริษัทอาจเผชิญกับปัญหาที่ส่งผลกับยอดขายและรายได้ในอนาคตของบริษัท


**หมายเหตุ
  RM = Raw Material วัตถุดิบ
  WIP = Work In Process งานที่อยู่ในขบวนการ
  FG = Finish Goods สินค้าสำเร็จรูป