ข่าวประชาสัมพันธ์ - วันที่ 01ก.ย. 2563
ในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าทุกประเภทคุณภาพของสินค้าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจว่าจะ " ซื้อ " หรือ " ไม่ซื้อ " สินค้าชิ้นนั้น ดังนั้นโรงงานที่ผลิตสินค้าหรือผู้ประกอบการจะต้องเอาใจใส่และผลิตสินค้าให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในกระบวนการวัดและทดสอบสินค้า ซึ่งขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพจึงจำเป็นจะต้องมีเครื่องมือวัดที่แม่นยำและถูกต้องมาตรวจสอบ จากเหตุผลดังกล่าวนี้ทาง WRP จึงขอแนะนำบริษัท SCICRON ซี่งเป็นบริษัทที่จัดจำหน่ายเครื่องมือวัดและทดสอบสินค้าที่ได้ตามมาตรฐานทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงมีการอบรมพนักงานในการใช้เครื่องมือวัดและทดสอบสินค้าได้อย่างถูกต้องมานำเสนอ หากท่านใดสนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.scicron.co.th หรือ https://www.facebook.com/scicron/
การวัดประสิทธิภาพในการควบคุมสินค้าคงคลัง
เนื่องจากบทความ "การบริหารและควบคุมสินทรัพย์หมุนเวียนโดยองค์กรต่างๆในสถานประกอบการทางธุรกิจ" มีท่านผู้อ่านสอบถามมาเสมอเมื่อเข้าไปตรวจสอบหรือเข้าไปพิจารณาระบบการจัดการควบคุมสินค้าคงคลังในองค์กรเพื่อที่จะควบคุมไม่ให้เงินสดไปจมกับวัตถุดิบมากจนเกินไปทำให้ขาดสภาพคล่องหรือมีเงินสดหมุนเวียนลดน้อยลง คำถามนั้นก็คือ "บริษัทของเราเก็บสต็อกไว้มากเกินไปหรือไม่เมื่อเทียบกับคู่แข่ง” หรือ “บริษัทของเราควรเก็บสต็อกไว้เท่าไร” คำถามนี้เป็นคำถามที่ตอบได้ไม่ง่ายนัก เหมือนกับคำถามที่บริษัทมักจะตั้งคำถามว่า “เราควรตั้งราคาสินค้าที่เท่าไร” การตอบคำถามเหล่านี้นั้นต้องพิจารณาจากปัจจัยต่างๆทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายของบริษัทนำมาประกอบกัน การวัดประสิทธิภาพในการควบคุมสินค้าคงคลังจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการเพื่อใช้สำหรับตรวจสอบการบริหาร และใช้เป็นสัญญาณเตือนว่าขณะนี้มีระดับสินค้าคงคลังเหมาะสมหรือไม่ที่ทำให้กระทบกับสภาพคล่องของเงินสดหมุนเวียน การที่จะกำหนดเกณฑ์ว่าเป็นเท่าไรจึงจะเหมาะสมนั้นนั้นเป็นเรื่องยาก เนื่องจากไม่มีกฎเกณฑ์ที่ระบุอย่างแน่นอนขึ้นอยู่กับนโยบายแต่ละประเภทของกิจการ ซึ่งใน วันที่ 01 สิงหาคม 2563 ทาง WRP จะได้อธิบายและนำเสนอตัวอย่างเพื่อที่จะให้ท่านได้ทราบถึงการวัดประสิทธิภาพในการควบคุมสินค้าคงคลัง โปรดติดตามรายละเอียดโดยการ คลิก ที่นี่ครับ
การทำงานเป็นทีม
ในการทำงานร่วมกันเพื่อปฏิบัติงานในภารกิจที่ถูกมอบหมายหรือเป็นโครงการที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้สำเร็จอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพนั้นบุคคลากรในทีมงานจะต้องเข้าใจบทบาท, ขอบเขต และหน้าที่ของตัวเองอย่างถ่องแท้เสียก่อนทุกระดับตั้งแต่หัวหน้าทีมและผู้ร่วมงานทุกคนในทีม รวมทั้งต้องเข้าใจและแยกแยะต่อความหมายในคำว่า “Accountability“,“การช่วยเหลือ“ และ “น้ำใจ“ ให้ชัดเจนเพราะไม่เช่นนั้นการทำงานร่วมกันในทีมอาจเกิดความล่าช้าเนื่องจากคนในทีมงานต้องช่วยเหลือกันบ่อยครั้ง ซึ่งสาเหตุอาจเกิดขึ้นจาก ประสบการณ์และความรู้แตกต่างกัน, ทักษะและความสามารถไม่เท่ากัน และท้ายที่สุดคือความรับผิดชอบและความตั้งใจในการปฏิบัติงานที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นผู้ที่ดูแลภารกิจหรือโครงการจะต้องเลือกห้วหน้าทีมที่สามารถควบคุมงานได้ตามแผนงานหรือ KPI ได้และต้องเลือกทีมงานที่มีความคิด, ความสามารถ และความตั้งใจในการทำงานที่ไม่แตกต่างกันมากนัก งานใดควรจะเลือก พวกชั้นครีมหรือ A ทีม งานใดควรจะเลือกชั้นปานกลางหรือ B ทีม พยายามอย่าคละทีมงานร่วมกัน เนื่องจากจะเกิดความล่าช้าดังเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้ว โปรดติดตามรายละเอียดโดยการ คลิก ที่นี่ครับ
การบริหารและควบคุมสินทรัพย์หมุนเวียนโดยองค์กรต่างๆในสถานประกอบการทางธุรกิจ
ในบทความที่แล้วได้กล่าวถึงส่วนประกอบ และความหมายของการบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนเท่านั้น แต่ในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างของการบริหารและควบคุมสินทรัพย์หมุนเวียนเพื่อที่จะเน้นให้เห็นถึงความสำคัญและความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆในสถานประกอบการทางธุรกิจตั้งแต่ผู้บริหารลงไปถึงระดับผู้ปฎิบัติการรวมถึงระดับ Supervisor / Foreman ว่ามีผลกระทบอย่างไรต่อการบริหารและควบคุมสินทรัพย์หมุนเวียน ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำและกำหนดนโยบายของการขายสินค้า (การจัดทำ Forecast Order, การส่งสินค้าตัวอย่าง, การสั่งสินค้า, การรับสินค้าและการจ่ายเงินของลูกค้า), นโยบายของ การวางแผนการผลิต โดยรวม (การวางแผนจัดทำ MPS และการวางแผนจัดทำ MRP), นโยบายของการสั่งซื้อสิ่งของ (การกำหนด MOQ, การกำหนด Order Lead-time, การสั่งวัตถุดิบตามแผน MRP และการจ่ายเงินให้กับ Suppliers), นโยบาย การควบคุมต้นทุน การผลิต (การควบคุมค่าแรง, การควบคุมค่าโสหุ้ย MOH, การควบคุมการใช้วัตถุดิบ, การควบคุมการผลิตและส่งการมอบสินค้าให้ตรงตามแผน MPS) เป็นต้น
หากทุกคนไม่ปฏิบัติตามนโนบายที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นการบริหารและควบคุมสินทรัพย์หมุนเวียนจะไม่มีประสิทธิภาพซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินธุรกิจได้โดยตรง ขอให้ท่านผู้ชมโปรดศึกษารายละเอียดของตัวอย่างการบริหารและควบคุมสินทรัพย์หมุนเวียน ซึ่งทาง WRP ได้นำเสนอตัวอย่างเพื่อที่จะให้ท่านได้ทราบถึงความสำคัญของแต่ละองค์ประกอบ โปรดติดตามรายละเอียดโดยการ คลิก ที่นี่ครับ
การบริหารสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets Management)
ปัจจุบันนี้มีธุรกิจหลายประเภทที่ต้องปิดกิจการลงไปเนื่องจากได้รับผลกระทบที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยหรือหดตัวลงรวมถึงการเกิดโรคระบาดที่แพร่ไปทั่วโลกเข้ามาซ้ำเติม ดังนั้นในการดำเนินธุรกิจหรือการประกอบกิจการที่มีโรงงานเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง สิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องตระหนักและต้องควบคุมอย่างเข้มงวดก็คือสภาพคล่องทางการเงินโดยเฉพาะการบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้ ดังนั้นบุคคลากรที่ทำงานในโรงงานต่างๆควรทำความเข้าใจและเรียนรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนโปรดติดตามรายละเอียดโดยการ คลิก ที่นี่
การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ แบบ " ระบบต้นทุนมาตรฐาน (Standard Cost System) และ ระบบต้นทุนกระบวนการ (Process Cost System) "

WRP ขอนำเสนอโปรแกรมการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ แบบ " ระบบต้นทุนมาตรฐาน (Standard Cost System) และระบบต้นทุนกระบวนการ (Process Cost System) " ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะกำหนดราคาสินค้าเพราะต้นทุนการผลิตมีส่วนประกอบที่เป็นปัจจัยหลักได้แก่ วัสดุ, ค่าแรงงาน, ค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนั้นการวิเคราะห์ต้
นทุนการผลิต จึงสำคัญเป็นอย่างมากในการควบคุมราคาสินค้าเพื่อให้มีต้นทุนที่ต่ำลง ทำให้เกิดผลกำไรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาด ระบบต้นทุนการผลิตแบบนี้จะเน้นถึงการวิเคราะห์และบริหารจัดการในเชิงระบบการตัดสินของผู้บริหารโดยจะมองในภาพรวมว่าทิศทางของต้นทุนการผลิตเป็นอย่างไร และจะมีนโยบายในการบริหารจัดการต้นทุนอย่างไร ซึ่งต้นทุนมาตรฐานนี้จะไม่ผันแปรตามจำนวณการผลิตแต่จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจที่จะผลิตสินค้าว่า "ผลิตได้" หรือ "ผลิตไม่ได้" เป็นอย่างดี ท่านสามารถติดตามรายละเอียดของโปรแกรมนี้โดยการ คลิก ที่นี่
การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ แบบ ระบบต้นทุนมาตรฐาน (Standard Cost System)
WRP ขอนำเสนอโปรแกรม " การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ " โดยมุ่งเน้นที่จะให้ความรู้กับบุคลากรที่พึ่งทำงานหรือเพิ่งจบการศึกษามาใหม่ให้ทราบว่าต้นทุนของผลิตภัณฑ์นั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เพื่อที่จะควบคุมต้นทุนได้อย่างถูกค้องต่อไป เนื่องจากระบบต้นทุนมาตรฐานจะแตกต่างจากระบบต้นทุนแบบสั่งทำและระบบต้นทุนกระบวนการซึ่งสองแบบนั้นจะใช้ข้อมูลในอดีตเป็นหลักในการวิเคราะห์หาต้นทุนการผลิต ซึ่งจะเป็นต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นจริง และใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนาและหาแนวทางในการลดต้นทุนการผลิต โดยโปรแกรมจะประกอบไปด้วยข้อมูลต่างๆ และส่วนประกอบของตันทุน ท่านสามารถติดตามรายละเอียดของโปรแกรมนี้โดยการ คลิก ที่นี่
คำแนะนำ : กรุณา Download โปรแกรมและเก็บไว้ใน Folder ของท่านเพื่อความสะดวกในการใช้งานแบบปรกติ
แผนการลดต้นทุนการผลิตโดยการปรับปรุง " ระบบบริหารการจัดการคุณภาพและการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์"
ในปัจจุบันนี้บริษัทหรือโรงงานต่างๆได้เผชิญกับปัญหาในการดำเนินธุรกิจที่มีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นและมีปัจจัยที่กระทบโดยตรงต่อผลการดำเนินงานนั่นก็คือต้นทุนที่สูงขึ้น จากสาเหตุนี้จึงมีผู้ชมหลายท่านได้สนใจติดต่อสอบถามเกี่ยวกับวิธีลดต้นทุนในการผลิต ทาง WRP จึงได้ให้คำปรึกษาและจัดส่งแบบสอบถามเพื่อทำการประเมินปัญหาเบื้องต้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักๆคือให้ท่านทั้งหลายได้จัดทำแผนการการปรับปรุงกระบวนการผลิตรวมทั้งจัดทำแผนการฝึกอบรมให้ตรงกับปัญหาของบริษัทหรือโรงงานโดยใช้หลักการ " 5 Gen" เพื่อหาสมมุติฐานของปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งตอนเริ่มต้นอาจจะต้องใช้เวลาในการเตรียมการเพื่อหาข้อมูลไปบ้าง เนื่องจากประสบการที่ผ่านมาพบว่าหลักสูตรที่จัดกันทั่วๆไปนั้นมักจะกล่าวถึงการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรแบบโดยรวม
ซึ่งจะใช้ได้กับหลายๆบริษัทจึงมักไม่เน้นลงไปในระบบหรือกระบวนการผลิตที่เกิดปัญหาขึ้นจริงในบริษัทหรือโรงงานนั้น ส่งผลให้พนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมไปแล้วนั้นขาดแนวทางในการปรับปรุงโดยไม่ทราบว่าควรจะเริ่มต้นปรับปรุงตัวเองหรือหน่วยงานในหัวข้อใดเป็นอันดับแรกและใครจะเป็นผู้นำกลุ่มในการแก้ไขปัญหา ( Black Belt - 6 Sigma) ทำให้ประสิทธิภาพในการปรับปรุงการแก้ปัญหาในระบบหรือกระบวนการผลิตนั้นไม่ได้ผลเท่าที่ควรและเกิดความล่าช้าขึ้นได้
ทาง WRP ได้จัดทำแผนสำหรับการประเมินระบบบริหารการจัดการคุณภาพและการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้กับทุกท่านที่สนใจ เนื่องจากต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality: COQ) นั้นจะเป็นต้นทุนที่แฝงอยู่ในต้นทุนของการผลิตถึง 30% ด้วยกัน ถ้าหากทุกท่านแก้ปัญหาตรงจุดนี้ได้เสียก่อนก็จะทำให้ลดต้นทุนได้มากกว่าการที่จะพึ่งการปรับปรุงกำลังการผลิตให้มากขึ้นแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งยิ่งผลิตก็จะมีต้นทุนแฝงเพิ่มมากขึ้นโดยการปรับปรุงกำลังการผลิตนั้นควรจะเป็นแผนการปรับปรุงในลำดับถัดไป เอกสารสำหรับการประเมินนั้นจะมีด้วยกันทั้งหมด 48 หน้า ซึ่งจะประกอบไปด้วยเนื้อหาหลักๆ 9 หัวข้อ โปรดติดตามรายละเอียดโดยการ คลิก ที่นี่
หลักการเป็นหัวหน้างาน (Principle of Supervisor)
หัวหน้างานหรือ Supervisor มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานในองค์กร เพราะบุคลากรที่ทำหน้าที่ในตำแหน่งนี้จะต้องทำหน้าที่สื่อสารโดยการรับนโยบายจากผู้บริหารและนำมาไปสื่อหรือประสานร่วมงานกับพนักงานระดับปฏิบัติการเพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงไม่สามารถที่จะมาควบคุมการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการได้ทั้งหมดจึงจำเป็นต้องฝากความคาดหวังไว้กับ Supervisor ดังนั้นพนักงานที่มีศักยภาพที่จะเตรียมตัวขึ้นเป็นหัวหน้างานควรได้รับการอบรมสำหรับการเป็นหัวหน้างานที่ดี ซึ่งต้องอาศัยการอบรมอย่างเหมาะสม โปรดติดตามรายละเอียดโดยการ คลิก ที่นี่
คำศัพท์ที่ใช้ในโรงงาน
ในปัจจุบันการผลิตสินค้าในโรงงานต่างๆมีความซับซ้อนมากขึ้นกว่ายุคที่ผ่านมา ดังนั้นบุคคลากรทุกระดับในโรงงานจึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถและเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับการผลิตให้มากยิ่งขึ้น จากสาเหตุนี้เองทำให้เกิดมีคำศัพท์มากมายที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างแผนกต่างๆ ทาง WRP จึงขอรวบรวมคำศัพท์ที่ใช้กันบ่อยในโรงงานมานำเสนอให้ท่านผู้ชมได้ทราบ โปรดติดตามรายละเอียดโดยการ คลิก ที่นี่
Maintenance การบำรุงรักษา คือ การทำให้ระบบมีความสามารถในการผลิตคงที่ สม่ำเสมอ และควบคุมต้นทุนได้แบ่งเป็น 2 ประเภท
Preventive Maintenance การตรวจสอบซ่อมแซมเป็นประจำ หาจุดบกพร่อง ป้องกันความเสียหาย รวมถึงการออกแบบระบบ เช่น การดูแล ประจำวัน (ทำความสะอาด), ตามเวลากำหนด, การรักษา
Breakdown Maintenance เมื่ออุปกรณ์ หรือเครื่องจักรเสีย ต้องทำการซ่อม การลดลงของต้นทุนส่วน Breakdown maintenance จะน้อยกว่าการเพิ่มของ Preventive maintenance cost คือ ลงทุน Preventive maintenance มากเกินไป จะไม่ช่วยลดต้นทุนการซ่อม Breakdown maintenance มากนัก
Defect Per Million Opportunities: DPMO จำนวนข้อบกพร่องต่อล้านส่วน คือ ตัวชี้วัดที่นำโอกาสการเกิดข้อบกพร่องในแต่ละผลิตภัณฑ์มาพิจารณาด้วย เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบระดับคุณภาพของกระบวนการที่แตกต่างกันได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
Final Yield: FY ผลสำเร็จสุดท้าย คือ อัตราส่วนของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพผ่านการตรวจสอบขั้นสุดท้าย ซึ่งการพิจารณาค่านี้แต่เพียงอย่างเดียว จะไม่ทำให้เราทราบว่าที่จริงแล้วในกระบวนการของเรานั้น สามารถทำงานได้ถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรกเป็นอัตราส่วนเท่าไร มีผลิตภัณฑ์จำนวนเท่าใดที่ต้อนำกลับไปผ่านการแก้ไข (rework) อีกครั้งก่อนที่จะผ่านตามเกณฑ์การตรวจสอบ ก่อให้เกิดสภาวะที่เรียกว่า กระบวนการแฝง (Hidden Process) เช่น การซ่อม/แก้ไข Rework ขึ้นในกระบวนการทำงาน
Rolled Throughout Yield: RTY ผลสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรกตลอดทั้งกระบวนการ จะแตกต่างจาก FTY ตรงที่ FTY เป็ผลสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรกของแต่ละขั้นตอนย่อยๆ ในกระบวนการแต่ RTY คือผลสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรกในการทำงานตลอดทั้งกระบวนการนั้นทั้งหมดรวมกัน
การปฎิบัติงานโดยใช้หลักการ 5ส+3TEI
ในปัจจุบันนี้ในโรงงานต่างๆ ที่เปิดดำเนินการในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นของชาวตะวันตก เอเชีย หรือที่เป็นของชาวไทย ส่วนใหญ่แล้วมักจะนิยมสร้างวัฒนธรรมการทำงานในองค์กรโดยใช้หลักการ 5ส และ 3TEI เพื่อที่จะทำให้พื้นที่การทำงานในโรงงานนั้นมีความสะอาด เป็นระเบียบ มีสุขอนามัยที่ดี และสามารถควบคุมได้ ดังนั้นทาง WRP จึงขอนำเสนอวิธีการปฎิบัติงานในสถานที่ทำงานโดยใช้หลักการ 5ส และ 3TEI มาให้ท่านผู้ชมได้พิจารณา โปรดดูรายละเอียดโดยการ คลิก ที่นี่ครับ
หมายเหตุ ในการทำ 5ส ในข่วงเริ่มต้นนั้น หลายๆท่านอาจมีความกังวลในหัวข้อ ส สะดวกว่าควรทำอย่างไร ทาง WRP จึงขอจัดทำบทความการปฏิบัติ ส สะดวก โดยการนำหลักการ Visual Control มาช่วยโดยต้องคำนึงถึงหลักการสำคัญ 3 ประการ ดังนี้ คือ 1) ประสิทธิภาพ 2) คุณภาพ 3) ความปลอดภัย โดยที่ท่านผู้ชมสามารถดูรายละเอียดโดยการ คลิก ที่นี่ (โปรดดู Link ลำดับที่ 2 ) ครับ
การใชัเครื่องมือวัดละเอียด
WRP ได้จัดทำคู่มือการใชัเครื่องมือวัดละเอียดมาให้ท่านผู้ชมได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตัวท่านเอง (Self-Learning) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับท่านที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม หรือ บุคคลากรในโรงงานต่างๆ ซึ่งจะต้องมีความรู้เก่ี่ยวกับการใช้เครื่องมือวัดละเอียดเพื่อจะได้ใช้เครื่องมือวัดได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ไมโครมิเตอร์ ไดอัลเกจ กล้องไมโครสโคป แฮนด์ทอร์ค ทอร์คเกจ คู่มือนี้จึงเป็นหลักสูตรพื้นฐานทั่วๆไปที่จะยกระดับมาตรฐานการใช้เครื่องมือวัดโดยมุ่งเน้นถึงการทำความเข้าใจและทักษะของการใช้เครื่องมือวัดโดยอ้างอิงถึงมาตรฐานการสอบเทียบเครื่องมือวัด โปรดดูคู่มือโดยการ คลิก ที่นี่ครับ
คำแนะนำ : ไฟล์คู่มือทุกท่านสามารถ Download เป็น .pdf ไฟล์
รายละเอียดพิกัดของแปลงที่ดิน ขอบเขตของที่ดิน และข้อมูลเบื้องต้น
สำหรับท่านที่ต้องการทราบการประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโรงเรือน อาคารชุดและห้องชุดนั้น ทาง WRP ได้นำเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์มานำเสนอเพื่อให้ท่านตรวจดูเลขโฉนดที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยท่านสามารถโทรศัพท์เช็คราคาที่ดินด้วยตนเองที่หมายเลข: 02-142-2456-7 หรือ ตรวจสอบราคาโดยผ่านเว็บไซต์: http://property.treasury.go.th/pvmwebsite/ หากท่านต้องการที่จะทราบข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการสร้าง อาคาร โรงงาน หรือที่พักอาศัย ขอบเขตของที่ดิน และข้อมูลเบื้องต้นของการเดินทางเข้าสู่ที่ดินแปลง รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรังวัดและค่าธรรมเนียมภาษีอากร โดยเข้าไปตรวจสอบข้อมูลของกรมที่ดินในระบบค้นหารูปแปลงที่ดินที่เว็บไซต์: http://dolwms.dol.go.th/tvwebp/ ท่านก็จะทราบข้อมูลที่ท่านต้องการดังตัวอย่างที่แสดงไว้ด้านล่าง โดยระบุ จังหวัด เลือกอำเภอ และเลขโฉนดที่ดิน ข้อมูลต่างๆก็จะปรากฎออกมาให้ท่านได้ทราบ
โปรแกรมสำเร็จรูป - การดำเนินธุรกิจแบบขายตรง
ปัจจุบันนี้การขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆในประเทศของเรามีการขายผ่านช่องทางการขายตรงมากขึ้น ซึ่งการขายนี้จำเป็นจะต้องมีการกระจายสินค้าโดยอาศัยสมาชิกขายตรงหลายระดับ ทำให้ข้อมูลในการขายนั้นมีความหลากหลาย ดังนั้นทาง WRP จึงได้จัดทำโปรแกรม Excel สำเร็จรูปขึ้นมาเพื่อให้ท่านได้รวบรวมข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ อาทิ เช่น ชื่อบริษัท ช่องทางการติดต่อ เงื่อนไขการเป็นสมาชิกการขายตรง รายชื่อของสมาชิกทุกระดับ ยอดการจำหน่ายสินค้าในแต่ละเดือน ข้อมูลการรับเบิก-จ่ายสินค้าต่องวด โดยสามารถที่จะบันทึกข้อมูลต่างๆทั้งหมดไว้ในโปรแกรมที่เดียวกันและมีข้อมูลสรุปได้เป็นรายเดือน หากสนใจโปรด คลิกที่นี่
โปรแกรมการคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้
ทาง WRP ได้จัดทำตาราง ซึ่งเป็นการคำนวนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้ท่านทราบ ซึ่งจะแสดงใน sheet ที่1 โดยจะแสดงและคำนวนถึง 1) เงินต้นที่ท่านกู้ 2) ดอกเบี้ยเงินกู้รวมทั้งหมดตลอดระยะเวลาที่กู้ยืม 3) รายละเอียดค่างวดที่ส่งรายเดือน 4) ดอกเบี้ยรายเดือน 5) เงินต้นที่ลดลงในแต่ละเดือน และ 5) ผลรวมค่างวดในแต่ละปี โปรด คลิก ที่นีี่
หลักพื้นฐานในการทำงานในโรงงาน
Our Strategy...
"WRP" มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือในการให้ความรู้แก่พนักงานหรือหน่วยงานต่างๆในโรงงานที่ต้องการจะปรับปรุงเพื่อพัฒนาการทำงานของตนเองและองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่มีมากกว่า 30 ปีในโรงงาน เช่น การลดต้นทุนการผลิต,การปรับปรุงคุณภาพ เพื่อให้ท่านที่สนใจได้นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน โดยได้เสนอเนื้อหาและบทความเพื่อช่วยให้ท่านปรับปรุงการทำงานต่อไป หากท่านต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมขอให้ท่านติดต่อมาที่: teerawat.w@wrp-factoryconsultant.com หรือ teerawat.wrp@gmail.com ซึ่งเรายินดีที่จะช่วยเหลือท่านตลอดเวลา