การบริหารสินทรัพย์หมุนเวียน

การบริหารสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets Management)

          ปัจจุบันนี้มีธุรกิจหลายประเภทที่ต้องปิดกิจการลงไปเนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยหรือหดตัวลงรวมถึงการเกิดโรคระบาดที่แพร่ไปทั่วโลกเข้ามาซ้ำเติม ดังนั้นในการดำเนินธุรกิจหรือการประกอบกิจการที่มีโรงงานเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง สิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องตระหนักและต้องควบคุมอย่างเข้มงวดก็คือสภาพคล่องทางการเงินโดยเฉพาะการบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้ ดังนั้นบุคคลากรที่ทำงานในโรงงานต่างๆควรทำความเข้าใจและเรียนรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนดังนี้

สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets)

คือ สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องและสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว (โดยปกติภายใน 1 ปี) ประกอบด้วย

1. เงินสด (Cash) คือ เงินสดที่มีอยู่ในมือของกิจการ สามารถนำออกมาใช้ได้โดยปราศจากเงื่อนไข
2. หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด (Marketable Securities) คือ หลักทรัพย์หรือตราสารที่มีสภาพคล่องสูง
3. ลูกหนี้ (Account Receivable) ที่เกิดจากการขายสินค้าซึ่งอาจอยู่ในรูปของสินเชื่อก็ได้ 
4. สินค้าคงคลัง (Inventory) คือ สินค้าคงคลังของกิจการ เริ่มตั้งแต่ วัตถุดิบ Raw Material ไปจนถึงสินค้าสำเร็จรูป Finished Goods

การบริหารสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets Management)

การบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนมีโครงสร้างประกอบกันดังนี้


1. การบริหารเงินสด
 
คือ การจัดการให้มีเงินสดในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อที่จะการดำเนินกิจการได้ในภาวะปกติโดยไม่ควรถือเงินสดน้อยจนเกินไปเพราะอาจทำให้กิจการดำเนินกิจการต่อไปไม่ได้หรือติดขัดและไม่ควรถือเงินสดมากจนเกินไปเพราะการถือเงินสดไว้เฉยๆไม่ได้สร้างผลตอบแทนให้กับกิจการซงขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการ

1.1 วัตถุประสงค์ของการถือเงินสด มีส่วนประกอบดังนี้
1) เพื่อใช้จ่ายตามปกติในการดำเนินงาน (Transaction Motive) เช่น ค่าแรงคนงาน ค่าวัตถุดิบ ฯลฯ
2) เพื่อสำรองเผื่อเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้น (Precautionary Motive) เช่น เกิดการน้ำท่วม, คนงานประท้วง, ลูกค้ามีปัญหาไม่สามารถชำระเงินได้ เป็นต้น ส่วนใหญ่จะถืออยู่ในรูปเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงเพื่อให้ได้ผลตอบแทนไปในตัว แต่ก็สามารถเรียกใช้ได้ทันเมื่อฉุกเฉิน
3) เพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนหรือผลกำไร (Speculative Motive) เช่น ได้รับส่วนลดจากการซื้อวัตถุดิบแบบเงินสด
4) เพื่อการสำรองตามข้อกำหนดของธนาคารพาณิชย์ (Compensating Balance) คือ กิจการต้องคงเงินฝากขั้นต่ำไว้ตามข้อกำหนดของธนาคาร เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายต่างๆในการให้บริการของธนาคาร
1.2 งบประมาณเงินสด เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการเงินสด โดยแสดงการประมาณการเงินสดทั้งรับและจ่ายเพื่อให้กิจการสามารถวางแผนในการจัดการ                เงินสดได้ ทั้งในภาวะที่เงินสดขาดมือหรือในภาวะที่กิจการมีเงินสดเหลือ

2. การบริหารหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด 

คือ การบริหารหลักทรัพย์ที่เป็นตราสารในตลาดเงินซึ่งเป็นแหล่งลงทุนชั่วคราวที่สร้างรายได้ เมื่อมีเงินสดเหลือ และเมื่อถึงเวลาที่จะใช้เงินสดก็สามารถนำออกขายได้

2.1 ลักษณะสำคัญของหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด
1) เช็คลงวันที่ล่วงหน้า
2) บัตรเงินฝากที่ออกโดยสถาบันการเงิน เป็นหลักฐานในการฝากเงิน
3) ตั๋วสัญญาใช้เงิน ออกโดยลูกหนี้ให้เจ้าหนี้
4) ตั๋วแลกเงิน ออกโดยสถาบันการเงินที่มีฐานะมั่นคง เพื่อระดมทุน
5) ตั๋วเงินคลัง ออกโดยรัฐบาล
2.2 ความเสี่ยงที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด มีด้วยกันดังนี้
1) Default Risk คือ ความเสี่ยงที่ผู้ออกตราสารไม่สามารถชำระเงินต้นและดอกเบี้ยคืนได้
2) Liquidity Risk คือ ความเสี่ยงที่ไม่สามารถขายหลักทรัพย์ที่ถือไว้ได้ในเวลาที่ต้องการและในราคาที่เหมาะสม
3) Inflation Risk คือ ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้อำนาจซื้อของผู้ลงทุนลดลง
4) Maturity Risk คือ ความเสี่ยงจากอายุตราสาร อายุตราสารยิ่งยาวยิ่งเสี่ยงมาก
5) Interest Rate Risk คือ ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน
- มูลค่า(ราคา)ของตราสาร ถ้าอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จะทำให้มูลค่าตราสารต่ำลง ถ้าขายตราสารอาจขาดทุนได้
- อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนต่อ เนื่องจากเป็นการลงทุนระยะสั้น เมื่อครบอายุไถ่ถอนแล้วนำเงินไปลงทุนต่อถ้าอัตราดอกเบี้ยในตลาดต่ำก็จะได้      ผลตอบแทนต่ำ

3. การบริหารลูกหนี้ 

คือ การบริหารบัญชีลูกหนี้การค้าที่เกิดจากการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ แม้ว่าการขายเป็นเงินเชื่อจะเป็นการกระตุ้นยอดขาย แต่กิจการก็ต้องรับความเสี่ยงของลูกหนี้เช่นกัน ดังนั้น ควรบริหารลูกหนี้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม


นโยบายการขายเป็นเงินเชื่อ
1) มาตรฐานการให้สินเชื่อ
1.1) Character คือ การวิเคราะห์ลักษณะลูกค้าว่ามีความจริงใจ มีคุณธรรม และมีความรับผิดชอบในการชำระหนีแ้ค่ไหน
1.2) Capacity คือ การวิเคราะห์ความสามารถในการจ่ายชำระหนีข้องลูกค้า อาจดูจากงบกำไรขาดทุน, งบกระแสเงินสด
1.3) Capital คือ การวิเคราะห์ความมั่นคงทางการเงินของลูกค้า อาจดูจากงบดุลว่ามีสัดส่วนเงินทุนเป็นอย่างไร
1.4) Collateral คือ วิเคราะห์มูลค่าของหลักประกันว่าเพียงพอกับมูลหนีไ้หม
1.5) Condition คือ ภาวะเศรษฐกิจมีความผันผวนมากน้อยเพียงใดต่อความสามารถในการทำกำไร
2) ระยะเวลาการให้สินเชื่อ ระยะเวลาในการชำระหนี้
3) ส่วนลดเงินสด จูงใจให้ชำระเงินก่อนถึงกำหนด

4. การบริหารสินค้าคงคลัง 

คือ การบริหารสินค้าคงคลังให้มีเพียงพอต่อความต้องการ โดยมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด โดยระดับการสั่งสินค้าที่เหมาะสม (EOQ) คือ ระดับการสั่งซือ้สินค้าที่ทำให้ค่าใช้จ่ายต่างๆน้อยที่สุด

สินค้าคงคลังประกอบด้วย 1) วัตถุดิบ Raw Material  2) สินค้าที่อยู่ในกระบวนการผลิต Work In Process  3) สินค้าสำเร็จรูป Finished Goods โดยค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นมีดังนี้
1) ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา เก็บสินค้าคงคลังมาก → ค่าใช้จ่ายมากเช่น ค่าเก็บรักษา/ขนย้าย, ค่าเช่าที่เก็บของ, ค่าเสื่อมราคา
2) ค่าใช้จ่ายในการสั่งสินค้า การสั่งสินค้าแต่ละครั้งมักมีค่าใช้จ่ายเสมอ สั่งบ่อย → ค่าใช้จ่ายมากเช่น ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง


"  สุดท้ายนี้ขอให้ทุกคนปฏิบัติหน้าที่และผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยดีครับ "

การบริหารและควบคุมสินทรัพย์หมุนเวียนโดยองค์กรต่างๆในสถานประกอบการทางธุรกิจ

          ในบทความด้านบนได้กล่าวถึงส่วนประกอบ และความหมายของการบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนเท่านั้น แต่ในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างของการบริหารและควบคุมสินทรัพย์หมุนเวียนเพื่อที่จะเน้นให้เห็นถึงความสำคัญและความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆในสถานประกอบการทางธุรกิจตั้งแต่ผู้บริหารลงไปถึงระดับผู้ปฎิบัติการรวมถึงระดับ Supervisor / Foreman ว่ามีผลกระทบอย่างไรต่อการบริหารและควบคุมสินทรัพย์หมุนเวียน ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำและกำหนดนโยบายของการขายสินค้า (การจัดทำ Forecast Order, การส่งสินค้าตัวอย่าง, การสั่งสินค้า, การรับสินค้า และการจ่ายเงินของลูกค้า), นโยบายของ การวางแผนการผลิต โดยรวม (การวางแผนจัดทำ MPS และการวางแผนจัดทำ MRP), นโยบายของการสั่งซื้อสิ่งของ (การกำหนด MOQ, การกำหนด Order Lead-time, การสั่งวัตถุดิบตามแผน MRP และการจ่ายเงินให้กับ Suppliers), นโยบาย การควบคุมต้นทุน การผลิต (การควบคุมค่าแรง, การควบคุมค่าโสหุ้ย MOH, การควบคุมการใช้วัตถุดิบ, การควบคุมการผลิตและส่งการมอบสินค้าให้ตรงตามแผน MPS) เป็นต้น
          ถ้าหากทุกคนไม่ปฏิบัติตามนโนบายที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นการบริหารและควบคุมสินทรัพย์หมุนเวียนจะไม่มีประสิทธิภาพซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินธุรกิจได้โดยตรง ต่อไปนี้ขอให้ท่านได้ศึกษารายละเอียดของตัวอย่างการบริหารและควบคุมสินทรัพย์หมุนเวียนเพื่อที่จะได้ทราบถึงความสำคัญของแต่ละองค์ประกอบครับ

ตัวอย่าง

บริษัท WRP จำกัด เป็นบริษัทประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้ามีประมาณการยอดขายสำหรับ 10 เดือนของปี 2563 ดังนี้ (หน่วยเป็นล้านบาท)


โดยมีนโยบายและเงื่อนไขต่างๆในการดำเนินการดังนี้

นโยบายของการขายสินค้า
1.ยอดขาย 20% ในแต่ละเดือนจะขายเป็นเงินสด 
2.ยอดขายที่เหลือ 60% ขายเป็นเงินเชื่อ โดยเก็บได้ในเดือนแรกถัดจากเดือนที่ขาย 
3.และยอดขายที่เหลืออีก 20% สุดท้าย เก็บได้ในเดือนที่ 2 ถัดจากเดือนที่ขาย

นโยบายของการสั่งซื้อสิ่งของ
1.มีการซื้อสิ่งของและวัตถุดิบล่วงหน้า 2 เดือน โดยต้นทุนสิ่งของและวัตถุดิบมีมูลค่าคิดเป็น 70% ของราคาขาย (โดยซื้อเผื่อของเสียที่เกิดจากการผลิตแล้ว
   จากการกำหนด%ใน BOM)
2.มีกำหนดชำระค่าสิ่งของและวัตถุดิบภายใน 1 เดือนถัดจากเดือนที่มีการสั่งและรับสิ่งของและวัตถุดิบแล้ว

นโยบายในการดำเนินงาน
1.มีค่าใช้จ่ายเดือนละ 10 ล้านบาท สำหรับการบริหารการจัดการ, หน่วยงานสนับสนุน, อาคารและสำนักงานต่างๆ
2.ค่าใช้จ่ายการดำเนินการในโรงงานประมาณเดือนละ 20 ล้านบาท
3.มีภาษีต้องชำระละไตรมาสละ 23 ล้านบาท โดยเริ่มจ่ายเดือนมิถุนายน
4.มีสถานะเงินสด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 เท่ากับ 22 ล้านบาท

นโยบายการรักษาสภาพคล่องของเงินสด
1.บริษัทมีนโยบายในการเก็บรักษาเงินสดขั้นต่ำเท่ากับ 20 ล้านบาทตลอดเวลา เดือนใดที่มีเงินขาดมือ (ขาดทุน) ให้มีการใช้เงินกู้ระยะสั้นมาหมุนเวียน โดยกู้ตั้งแต่ต้นเดือนเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีเงินเพียงพอสำหรับการใช้ในเดือนนั้น ๆ 
2.ถ้ามีเงินสดเหลือในเดือนใด ให้คืนเงินกู้ที่กู้มา โดยคืนในวันสิ้นเดือนของเดือนที่มีเงินเหลือนั้น เพื่อให้แน่ใจว่ามีเงินสดเหลือเพียงพอจริงๆ อันตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น เท่ากับ 12% ต่อปี จ่ายเป็นรายเดือนโดยจ่ายดอกเบี้ยในต้นเดือนถัดไป

จากข้อมูลที่ได้ต่อไปนี้จะเป็นการจัดทำงบประมาณเงินสดเป็นรายเดือนสำหรับเดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคมของปี 2563 โดยจะคำนวณหา

1.วงเงินกู้สูงสุดที่จำเป็นต้องใช้ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป
2.สถานะทางการเงินของรายการต่อไปนี้ตั้งแต่เดือนเมษายนเท่ากับเท่าใด
2.1) เงินสด
2.2) ลูกหนี้การค้า
2.3) สินค้าคงคลัง
2.4) เจ้าหนี้
2.5) เงินกู้ระยะสัน
2.6) ดอกเบี้ยค้างจ่าย

ต่อไปนี้จะเป็นการคำนวณเพื่อหาค่าการบริหารและควบคุมสินทรัพย์หมุนเวียน โดยจะมีขั้นตอนในการคำนวณดังนี้
1.คำนวณเงินสดรับรายเดือน
2.คำนวณเงินสดจ่ายรายเดือน
3.คำนวณงบประมาณเงินสดรายเดือน

ขั้นตอนที่1 การคำนวณเงินสดรับรายเดือน

ให้นำข้อมูลของยอดขายและนโยบายของการขายสินค้ามาใส่ตารางเพื่อการคำนวณจะได้ผลดังนี้


ขั้นตอนที่2 การคำนวณเงินสดจ่ายรายเดือน

ให้นำข้อมูลของยอดขาย, นโยบายของการสั่งซื้อสิ่งของ และนโยบายของการดำเนินงานมาใส่ตารางเพื่อการคำนวณจะได้ผลดังนี้


ขั้นตอนที่3 การคำนวณงบประมาณเงินสดรายเดือน

ให้นำข้อมูลของยอดขาย, เงินสดรับรายเดือน, เงินสดจ่ายรายเดือน และนโยบายของการดำเนินงานมาใส่ตารางเพื่อการคำนวณจะได้ผลดังนี้


จากการคำนวณจะเห็นว่าผลลัพธ์ของเงินสดสุทธิมีความผันแปรสูงมากโดยมีค่าติดลบถึง 3 เดือน เนื่องมาจากยอดขายที่มีความแตกต่างสูงระหว่างยอดขายสูงสุดและค่าต่ำสุด = 275 -100 = 175 ล้านบาท ซึ่งทำให้บางเดือนต้องจ่ายเงินค่าสิ่งของและวัตถุดิบเป็นเงินจำนวนมากทำให้เงินสดสุทธิมีค่าติดลบโดยต้องมีการไปกู้ยืมเงินระยะสั้นมาหมุนเวียนซึ่งยอดเงินกู้สะสมรวมสูงสุดในเดือนก.ค.อยู่ที่ 129.06 ล้านบาท (รวมดอกเบี้ย) เมื่อนำข้อมูลบางส่วนตั้งแต่ยอดขายจนถึงเงินสดสุทธิไปสร้างกราฟจะได้ผลลัพธ์ที่เห็นภาพชัดเจนดังนี้


แนวทางแก้ไข

          ดังนั้นทางผู้บริหารและพนักงานทุกฝ่ายในองค์กรจะต้องร่วมมือช่วยกันเพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขก่อนที่ปัญหานั้นจะเกิดขึ้นซึ่งมีวิธีในการแก้ไขปัญหาได้หลายวิธีดังนี้

วิธีที่ 1 จากนโยบายต้นทุนสิ่งของและวัตถุดิบซึ่งมีมูลค่าคิดเป็น 70% ของราคาขาย โดยมีกำหนดชำระค่าสิ่งของและวัตถุดิบภายใน 1 เดือนถัดจากเดือนที่มีการสั่งและรับสิ่งของและวัตถุดิบแล้ว ดังนั้นในระหว่างเดือนพ.ค. - ก.ค.ค่าใช้จ่ายหรือเงินสดจ่ายจะสูงมาก โดยเฉพาะในเดือนมิ.ย.ที่มีมูลค่าเงินสดจ่ายสูงกว่า 1 เท่าของเงินสดรับ ถ้าหากเราลองปรับเปลี่ยนนโยบายใหม่ชั่วคราวจะเกิดผลอย่างไรบ้าง

จากเดิม   “ มีกำหนดชำระค่าสิ่งของและวัตถุดิบภายใน 1 เดือนถัดจากเดือนที่มีการสั่งและรับสิ่งของและวัตถุดิบแล้ว “ 
มาเป็น     “ มีกำหนดชำระค่าสิ่งของและวัตถุดิบ 60%ภายใน 1 เดือนถัดจากเดือนที่มีการรับสิ่งของและวัตถุดิบแล้ว และชำระค่าสิ่งของและวัตถุดิบที่เหลืออีก 40% ภายในเดือนถัดไป “ 

จากเงื่อนไขใหม่นี้เมื่อนำเอาไปคำนวณงินสดจ่ายรายเดือนจะได้ผลลัพธ์ดังตารางใหม่ดังนี้

หมายเหตุ : ทางฝ่ายขายจะต้องช่วยจัดทำ Sales Forecast ในเดือน ธ.ค.ด้วยเพราะไม่เช่นนั้นจะหาค่าประมาณการของคำสั่งซื้อสิ่งของและวัตถุดิบบางส่วนในเดือนต.ค.ไม่ได้


เมื่อคำนวณเงินสดสุทธิใหม่จากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการชำระค่าสิ่งของและวัตถุดิบเสร็จแล้วเมื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับนโยบายเดิมโดยทำเป็นตารางผลลัพธ์ที่ได้จะแตกต่างกันดังนี้


เมื่อนำข้อมูลเงินสดสุทธิใหม่จากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการชำระค่าสิ่งของและวัตถุดิบมาทำกราฟจะได้ผลดังนี้



เงินสดสุทธิที่ติดลบจะลดลงจาก 3 เดือนเหลือเพียง 2 เดือนเท่านั้น  และมีมูลค่าติดลบน้อยลงด้วย

วิธีที่ 2 จากข้อมูลของยอดซื้อที่แตกตางกันมากจะทำให้การสั่งซื้อสิ่งของและวัตถุดิบของฝ่ายจัดซื้ออาจเกิดปัญหาขึ้นได้ทั้งในแง่ Lead-time และกำลังการผลิตของ Supplier รวมถึงฝ่ายผลิตในโรงงานเองที่ต้องมีค่าดำเนินงานที่สูงขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือค่าทำงานล่วงเวลา OT และค่าโสหุ้ยจะสูงขึ้นเกินกว่าเงินสดจ่ายรายเดือนที่ตั้งเป้าไว้ที่ 20 ล้านบาท ดังนั้นทางฝ่ายวางแผนการผลิตควรจะนำข้อมูลของยอดซื้อมาเฉลี่ยโดยการวางแผนกำลังการผลิตรวมMPS เพื่อที่จะทำให้ทุกฝ่ายยอมรับและสามารถทำงานได้จริงตามแผน แล้วส่งแผนนี้ให้กับฝ่ายขายเพื่อทำการแจ้งและปรีกษากัยลูกค้า ซึ่งอาจรวมไปถึงการแก้ไขสัญญาซื้อขายสินค้าด้วย สมมุติว่าทุกฝ่ายยอมรับแผน MPS ใหม่ตามตารางด้านล่าง แล้วจะมีผลกระทบกับเงินสดสุทธิอย่างไรขอให้ดูรายละเอียดต่างๆดังนี้



จากเงื่อนไขใหม่นี้เมื่อนำเอาไปคำนวณหาค่าเงินสดรับรายเดือนและเงินสดจ่ายรายเดือน รวมถึงเงินสดสุทธิรายเดือนจะได้ผลลัพธ์ดังตารางและกราฟใหม่ดังนี้



จะเห็นได้ว่าเงินสดสุทธิรายเดือนอันใหม่เงินสดจ่ายรายเดือนจะถูกเฉลี่ยมากขึ้นและทำให้ยอดติดลบระหว่างเดือนพ.ค. – ก.ค. มีมูลค่าลดลงส่งผลให้มูลค่าการกู้ยืมเงินลดลงตามไปด้วย ซึ่งวิธีที่ 2 นี้ดูจะดีกว่าวิธีที่ 1

วิธีที่ 3 เป็นการประยุกต์นำเอาแนวคิดการเปลี่ยนนโยบายของการสั่งซื้อสิ่งของและวัตถุดิบแบบวิธีที่ 1 และนโยบายของการวางแผนโดยรวมแบบวิธีที่ 2 มาปรับปรุงร่วมกัน ดังนั้นจะเกิดผลกระทบอย่างไรกับงบประมาณเงินสดรายเดือน ทั้งในส่วนของเงินสดสุทธิรายเดือน, เงินกู้ และเงินสดคงเหลือ ณ วันปลายงวด ขอให้ทุกคนดูข้อมูลในตารางและกราฟด้านล่าง



จะเห็นได้ว่าเงินสดสุทธิรายเดือนอันใหม่เงินสดรับรายเดือนและเงินสดจ่ายรายเดือนจะถูกเฉลี่ยมากขึ้นกว่าเดิมและทำให้ยอดติดลบระหว่างเดือนพ.ค. – ก.ค. มีมูลค่าลดลงมากส่งผลให้มูลค่าการกู้ยืมเงินลดลงตามไปด้วย ซึ่งวิธีที่ 3 นี้ดูจะดีกว่าวิธีที่ 1 และ วิธีที่ 2 

บทสรุป

          จากตัวอย่างที่นำเสนอมาจะเห็นได้ว่าในการดำเนินการทางธุรกิจหลายๆครั้งจะต้องเผชิญกับวิกฤตการต่างๆที่มีผลกระทบกับการดำเนินงานที่เราไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ไม่มากก็น้อย ดังนั้นวิธีรับมือที่ดีที่สุดเพื่อที่จะแก้ไขสถานการณ์ได้ก่อนหรือให้ทันเวลาก็คือการปรับปรุงวิธีการบริหารงานและปรับนโยบายให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ตลอดเวลามีการวิเคราะห์ข้อมูลหรือมีการพยากรณ์แนวโน้มของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยข้อมูลจากหน่วยงานหลายๆฝ่ายมารวมกันเพื่อที่จะหาแนวทางในการตัดสินใจแก้ปัญหาได้ถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น พยายามอย่ายึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือความสำเร็จของในอดีตที่ผ่านมา เช่นผลประกอบการที่เคยรุ่งเรืองและได้ผลกำไรตลอดมา, นโยบายต่างๆที่ผ่านมา และรูปแบบการทำงานแบบเดิมๆ ดังนั้นผู้บริหารธุรกิจระดับสูงควรจะมีการจัดประชุมร่วมกับผู้จัดการระดับต่างอย่างน้อยเป็นรายเดือนอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะให้แต่ละฝ่ายได้นำเสนอข้อมูลที่สำคัญเพื่อร่วมกันพิจารณาในรายละเอียดต่างๆรวมถึงเข้าใจในนโยบายหรือสถานการณ์ใหม่ให้ครอบคลุมกับการดำเนินการทางธุรกิจในทุกมติด้วย
 
          สุดท้ายนี้หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารและการควบคุมสินทรัพย์ได้ดียิ่งขึ้นก่อนที่ฝ่ายบัญชีจะปิดงบประมาณหรืองบดุลและรายงานผลจริงออกมาว่าการประกอบกิจการนั้น “ขาดทุน “ ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นแล้วท่านจะแก้ไขอะไรก็ไม่ได้อีกแล้วมันสายเกินไป.....ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ

ในการประชุมทุกครั้งจึงควรหลีกเลี่ยงคำพูดต่อไปนี้โดยที่ไม่มีการพยายามหรือลองทำเสียก่อน

“ เราเลื่อน Order ของลูกค้าไม่ได้นะ ลูกค้านี้สำคัญมาก “
“ Supplier ทำไม่ได้ ทางฝ่ายวางแผนให้ Lead-time สั้นไป “
“ แผนนี้ทำไม่ได้ ถ้าจะทำทางฝ่ายผลิตต้องขอ OT ทุกๆวัน “
“ ระดับคุณภาพที่ QA ตกลงกับลูกค้าสูงเกินไปทำให้งานที่ผลิตออกมาต้องมีงานซ่อมหรือมีของเสียมาก “
“ มีสินค้าคงคลังที่เป็น Dead Stock มากเกินไป เนื่องจากฝ่ายวิศวกรรมได้เผื่อ%ของวัตถุดิบใน BOM มากเกินไป ”
“ เราส่งมอบสินค้าไม่ทันเนื่องจากการวางแผนกระชั้นชิดจนเกินไป (ทั้งๆที่มีการตกลงและเห็นชอบกับ MPS มาก่อนแล้ว)“