การสร้างสมาธิและแนวทางของความคิด

การสร้างสมาธิและแนวทางความคิดด้วยเกม " Sudoku "

ในการทำงานทุกอย่างนั้นต้องอาศัยสมาธิทั้งสิ้นไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม โดยเฉพาะถ้าท่านมีตำแหน่งที่สูงขึ้นเท่าใดยิ่งต้องใช้สมาธิมากขึ้นเป็นลำดับ หรือการทำงานเป็นทีมที่ต้องอาศัยความร่วมมือกันทั้งในแง่ของการรับฟังข้อมูลให้รอบด้านเพื่อการวางแผนงาน การตัดสินใจในงาน ตลอดจนต้องมีความอดทนในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นเฉพาะหน้าหรือเกิดขึ้นในระยะยาว


บทความต่อไปนี้จะขอกล่าวถึงข้อดีของเกมซูโดะกุ (Sudoku) ซึ่งจะเป็นเกมที่ช่วยฝึกฝนตรรกะทางความคิด ในการหาคำตอบของเกมที่จะต้องใช้สมาธิ ความอดทน ความรอบคอบ และลำดับความคิด ที่ต้องใช้ในการหาคำตอบจากโจทย์ที่ตั้งไว้ แต่ก่อนอื่นเราควรทราบว่าเกมซูโดะกุนั้นคืออะไรเสียก่อน ชื่อ ซูโดะกุ ในภาษาญี่ปุ่น เป็นคำย่อจากคำว่า ซูจิวะโดะกุชินนิคางิรุ มีความหมายว่า ตัวเลขต้องมีเพียงเลขเดียว ชื่อของซูโดะกุ มีการเรียกชื่อแตกต่างกันในแต่ละภาษา ตั้งแต่ ซูโดะกุ ซูโดกุ ซูโดกู หรือ ซูโดคู


Sudoku คืออะไร ?

Sudoku (ออกเสียง "ซู - โด - กุ") คือเกมปริศนาตัวเลข ที่ผู้เล่นต้องเลือกใส่ หมายเลขตั้งแต่ เลข 1 ถึงเลข 9 โดยมีเงื่อนไขว่าในแต่แถว(แนวนอน)และแต่ละหลัก(แนวตั้ง)ตัวเลขต้องไม่ซ้ำกัน ตารางซูโดะกุจะมี 9×9 ช่อง ซึ่งประกอบจากตารางย่อย 9 ตาราง ในลักษณะเป็นเซลล์ 3×3 แบ่งแยกกันโดยเส้นหนา และในแต่ละตารางย่อยจะต้องมีตัวเลข 1 ถึง 9 เช่นเดียวกัน เมื่อเริ่มเกมจะมีตัวเลขบางส่วนให้มาเป็นคำใบ้ และผู้เล่นจะต้องใส่ทุกช่องที่เหลือให้ครบ โดยตามเงื่อนไขว่าแต่ละตัวเลขในแต่ละแถวและหลักจะใช้ได้ครั้งเดียว รวมถึงในแต่ละขอบเขตตารางย่อย การเล่นเกมนี้จำเป็นต้องใช้ความสามารถในด้าน ตรรกะ และความอดทนรวมถึงสมาธิ เกมนี้เริ่มต้นเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2522 ในชื่อ นัมเบอร์เพลส (Number Place) แต่เป็นที่นิยมและโด่งดังในประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ ซูโดะกุ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 และเป็นที่นิยมทั่วโลกอีกครั้งในปี พ.ศ. 2548

กติกาการเล่น Sudoku

  1. ทุกแถวในแนวนอน ต้องมีตัวเลข 1 – 9 และต้องไม่ซ้ำกัน

  2. ทุกแถวในแนวตั้ง ต้องมีตัวเลข 1 – 9 และต้องไม่ซ้ำกัน

  3. ทุกตารางย่อย 3 x 3 ต้องมีตัวเลข 1 – 9 และต้องไม่ซ้ำกัน


การเล่น Sudoku แบ่งออกเป็น 5 ระดับคือ (สำหรับเพิ่งเริ่มต้น)

  1. แบบง่าย ใช้เวลาหาคำตอบประมาณ 1 ชั่วโมง

  2. แบบปานกลาง ใช้เวลาหาคำตอบประมาณ 1 ชั่วโมงขึ้นไป

  3. แบบยาก ใช้เวลาหาคำตอบประมาณ 2 ชั่วโมง

  4. แบบยากมาก ใช้เวลาหาคำตอบประมาณ 2 ชั่วโมงขึ้นไป

  5. แบบยากที่สุด ใช้เวลาหาคำตอบมากกว่า 2 ชั่วโมง


แนวทางการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน


ในการเล่นเกมนี้ท่านสามารถประยุกต์ใช้ได้หลายอย่าง อาทิเช่น

  1. เล่นด้วยกันภายในครอบคร้วโดยมีพ่อแม่เป็นผู้ฝึกสอนให้ลูกหรือหลานมีสมาธิ ความรอบคอบ และความอดทนในการหาคำตอบ

  2. เล่นด้วยกันภายในทีมงานที่ทำงานร่วมกัน เป็น Workshop เพื่อฝึกทักษะในการแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปโดยอาศัยระบบและการสร้างความร่วมมือในหมู่คณะ

  3. เล่นคนเดียวเพื่อฝึกสมองสำหรับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะสำหรับท่านผู้สูงอายุจะทำให้เกิดความไม่เบื่อหน่ายครับ


สำหรับท่านที่เพิ่งเริ่มเล่นเกมเรามาลองศึกษาเทคนิคการเล่นและแนวทางในการหาคำตอบก่อนนะครับ

เริ่มต้นเล่นเกมกันได้แล้ว โดยเลือกระดับ Easy > Medium > High แล้วกดปุ่ม New ...ขอให้สนุกนะครับ