การทำงานแบบมืออาชีพ

ความก้าวหน้าในอาชีพ


เส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพของ “ทุกคน” มักจะถูกกำหนดโดยองค์กร หรือเรียกว่า "ระบบเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ Career Path” การเติบโตในเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพจะขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 อย่าง คือ

1. ปัจจัยภายใน คือ ความพร้อม ของตัวเราเอง 2. ปัจจัยภายนอก คือสถานการณ์ที่เอื้อหรือไม่เอื้อต่อการเติบโต

ดังนั้นคนที่มีแผนสำหรับเดินทางย่อมไปถึงเป้าหมายได้ ดีกว่าและเร็วกว่าคนที่ไม่มีแผนที่นำทางอย่างแน่นอน แต่ในความเป็นจริงมักจะพบว่าพนักงานที่เริ่มงานใหม่จะมีไฟแรงในการทำงานและต้องการที่จะแสดงออกถึงพลังความรู้ความสามารถของตนที่ได้เรียนรู้มาให้คนอื่นได้เห็น ถ้าหากพนักงานใหม่นั้นเลือกองค์กรที่ถูกต้องและมีวัฒนธรรมในการทำงานที่ตรงกับตัวพนักงานก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่หลายคนอาจจะไม่โชคดีอย่างนั้น ห้วข้อต่อไปนี้คือข้อแนะนำสำหรับพนักงานใหม่ก่อนที่จะทำงานในองค์กรต่างๆ



พนักงานใหม่ควรจะปรับตัวอย่างไรให้สอดคล้องกับอาชีพและหน้าที่ของต้วเอง


พนักงานที่เริ่มงานใหม่ควรได้ศึกษาและเรียนรู้วัฒนธรรมขององค์กรในการทำงานดังต่อไปนี้

1. เรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรและผู้ทำงานรอบข้างว่าเป็นอย่างไร มีแนวคิด มีนโยบายแบบไหน 2. ทักทายเพื่อทำความรู้จักกับทุกคน 3. จดจำบุคคลสำคัญๆในองค์กรให้ได้ 4. เรียนรู้การทำงาน รวมถึงเรียนการทำงานจากคนเก่าและเอกสารที่สำคัญ อย่าคบคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง 5. ฟังให้มากกว่าพูด และถามในเรื่องที่สำคัญๆ 6. เก็บข้อมูลโดยการจดบันทึก 7. ทำงานตามหน้าที่ๅได้รับมอบหมายจากห้วหน้างาน (Daily Work) ให้ดีที่สุด 8. เข้าร่วมกิจกรรมให้มากที่สุด 9. อย่าเพิ่งแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างในเชิงลบ เพิ่มการเรียนรู้ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความสำเร็จในการทำงาน การเรียนรู้ถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาทั้งตนเอง และหน่วยงานให้เจริญก้าวหน้า ถ้าหากพนักงานในหน่วยงาน หรือองค์กรใด ไร้ซึ่งความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องแล้วองค์กรนั้นก็ยากที่จะอยู่รอด การเรียนรู้แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ

1. การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง Self-Learning 
2. การเรียนรู้ขององค์กร Organization Learning 

เส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพของ “ทุกคน” มักจะถูกกำหนดโดยองค์กร หรือเรียกว่า "ระบบเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ Career Path” การเติบโตในเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพจะขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 อย่าง คือ

1. ปัจจัยภายใน คือ ความพร้อม ของตัวเราเอง

2. ปัจจัยภายนอก คือสถานการณ์ที่เอื้อหรือไม่เอื้อต่อการเติบโต

ดังนั้นคนที่มีแผนสำหรับเดินทางย่อมไปถึงเป้าหมายได้ ดีกว่าและเร็วกว่าคนที่ไม่มีแผนที่นำทางอย่างแน่นอน

 




ระดับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง


ระดับที่หนึ่ง รับรู้ (Perceive) หมายถึง การรับรู้คำสั่ง ขั้นตอน วิธีการทำงาน หรือกฎระเบียบต่างๆ แล้วนำมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของตน เพื่อทำให้ได้ผลลัพธ์ของงานที่ตรงตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งเหมาะสมกับพนักงานใหม่ หรือผู้เริ่มต้นการทำงาน ระดับที่สอง เรียนรู้ (Learn) หมายถึง การเรียนรู้จากสิ่งที่ได้รับรู้ในขั้นตอนแรก หลังจากที่ได้นำไปปฏิบัติแล้วนั้น มีผลเป็นอย่างไร มีปัญหา หรือ อุปสรรคอะไรหรือไม่ และผลกระทบต่างๆ จากการปฏิบัติงานของตนในด้านต่างๆ นั้นเป็นอย่างไรบ้าง เหมาะกับผู้ที่ปฏิบัติงานได้ในระยะหนึ่งหรือไม่ ระดับที่สาม ประยุกต์ (Apply) หมายถึง การนำความรู้ แนวคิด สิ่งที่ตนได้ค้นพบจนเกิดประสบการณ์ และทักษะมาประยุกต์ให้เกิดสิ่งใหม่วิธีการขั้นตอนใหม่ๆ ที่มีประโยชน์ และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ เช่น มีคุณภาพดีขึ้น ลดเวลาการทางาน หรือของเสียลดน้อยลง เป็นต้น เหมาะกับผู้ที่ทำงานมานานจนมีความรู้ความชำนาญ และมีประสบการณ์มาก การเรียนรู้ของหน่วยงานหรือองค์กร ประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้ 1. การเรียนรู้ด้วยตนเอง ( Self – Learning ) 2. การเรียนรู้จากตัวอย่างที่ดี ( Best Practice Learning ) 3. การเรียนรู้จากสิ่งที่ไม่ดี ( Bad Practice Learning )


สิ่งที่ส่งผลต่อความสำเร็จโดยรวมของตนเองและองค์กร ประกอบด้วย


1. ความมุ่งมั่นของพนักงาน

2. ทำงานเพื่อส่วนรวม

3. มีความร่วมมือระหว่างกัน

4. สามารถทำงานเป็นทีมได้ดี

5. ประสานงานกันอย่างเต็มที่

 

เทคนิคการทำงานอย่างมีความสุขด้วยการคิดแบบบวก มีดังนี้


1. การรักงาน ที่ทำอยู่คือประตูสู่การทำงานที่เรารัก

2. เปลี่ยนปัญหาให้เป็นความท้าทาย

3. อย่าเปิดช่องว่างให้ความเบื่อเข้ามาแทรก

4. อย่าระบายอารมณ์ ลงที่งานและคนอื่น   

 

วัฒนธรรมองค์กร (Organization Culture)

ในการพิจารณาว่า ค่านิยมใดมีความสำคัญและเหมาะสมกับองค์กรหรือไม่นั้น จำเป็นต้องวิเคราะห์ปัจจัยที่แวดล้อมภายในและนอกองค์กร วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของบริษัท ด้วยเหตุนี้วัฒนธรรมของแต่ละองค์กรจึงผิดแผกแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามถ้าเป็นอุตสาหกรรมอย่างเดียวกันก็มักมีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน เพราะดำเนินงานภายใต้ภาวะแวดล้อมที่คล้ายกัน ค่านิยมที่ดีขององค์กรควรมุ่งที่ความมีประสิทธิผล ตัวอย่างเช่น ภายใต้ภาวะแวดล้อมที่มีการแข่งขันสูงย่อมต้องการความยืดหยุ่น และความสามารถตอบสนองต่อลูกค้าได้สูงและรวดเร็ว ดังนั้นบริษัทจึงควรมีวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นความสามารถปรับตัว (Adaptability) เป็นหลักมากกว่ายึดค่านิยมว่า “ดี” หรือ “เลว” เท่านั้น โดยผู้นำจะต้องสามารถผสมผสานค่านิยมเหล่านี้ให้อยู่ในจุดที่ลงตัวพอดี ผู้นำที่สามารถในการจัดความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมที่เป็นวัฒนธรรม (Cultural Values) กลยุทธ์ขององค์การ (Organizational Strategy) และบริบทแวดล้อมภายนอก (External Environment) ได้ดี ย่อมเกื้อหนุนต่อผลของการประกอบการของบริษัทให้สูงยิ่งขึ้น จากการศึกษาเรื่องวัฒนธรรมกับความมีประสิทธิผลจะแบ่งวัฒนธรรมองค์กรขึ้น 4 แบบโดยความแตกต่างของวัฒนธรรมทั้งสี่มาจากมิติ 2 หัวข้อได้แก่ 1. ระดับของเงื่อนไขภาวะแวดล้อมภายนอกว่าต้องการความยืดหยุ่น (Flexibility) หรือความมั่นคง (Stability) เพียงไร 2. ระดับของเงื่อนไขด้านกลยุทธ์ว่าต้องการเน้นภายใน (Internal) หรือ เน้นภายนอก (External) เพียงไร เมื่อมิติทั้งสองที่ได้กล่าวมาแล้วเมื่อผสมกันจะเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรขึ้น 4 แบบ โดยแต่ละแบบมุ่งเน้นค่านิยมที่ต่างกันได้แก่ 1. วัฒนธรรมแบบปรับตัว (Adaptability Culture) 2. วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ (Achievement Culture) 3. วัฒนธรรมแบบเครือญาติ (Clan Culture) 4. วัฒนธรรมแบบราชการ (Bureaucratic Culture) โดยองค์กรหนึ่ง ๆ อาจมีวัฒนธรรมองค์กรมากกว่าหนึ่งแบบหรืออาจครบทุกแบบก็ได้ อย่างไรก็ตาม องค์กรที่มีความสำเร็จสูงพบว่า มักมีวัฒนธรรมที่เข้มแข็งเพียงแบบเดียวเท่านั้น 

                  

ความยืดหยุ่น

วัฒนธรรมแบบเครือญาติ(Clan Culture) มีค่านิยมที่เน้น :

- ความร่วมมือ

- ความเอื้ออาทร

- รักษาข้อตกลง

- ความเป็นธรรมทางสังคม 

วัฒนธรรมแบบปรับตัว (Adaptive Cultureมีค่านิยมที่เน้น :

- ความคิดริเริ่ม

- การทดลอง 

- ความกล้าเสี่ยง

- ความอิสระ

- ความสามารถตอบสนอง

 
วัฒนธรรมแบราชการ(Bureaucratic Culture) มีค่านิยมที่เน้น : 

- ความประหยัด

- ความเป็นทางการ

- ความสมเหตุผล

- ความเป็นระเบียบ

- ความเคารพเชื่อฟัง

 
วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ (Achievement Culture) มีค่านิยมที่เน้น :

- มุ่งการแข่งขัน

- ความสมบูรณ์แบบ

- ปฏิบัติเชิงรุก 

- ความเฉลียวฉลาด

- ความริเริ่มส่วน บุคคล

 ความมั่นคง

วัฒนธรรมแบบปรับตัว (Adaptability Culture)

วัฒนธรรมแบบปรับตัวเกิดขึ้นจากการที่ผู้นำนำเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leader) มุ่งสร้างค่านิยมใหม่ขององค์กรที่เอื้อต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการตีความหรือคาดการณ์ภาวะแวดล้อมภายนอกเพื่อให้เกิดพฤติกรรมในองค์กรที่สามารถตอบสนองได้ตลอดเวลา พนักงานขององค์กรจึงได้รับความอิสระในการตัดสินใจเองและพร้อมลงมือปฏิบัติได้ทันทีเมื่อเกิดความจำเป็นโดยยึดค่านิยมในการสนองตอบต่อลูกค้าเป็นสำคัญ ผู้นำมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับองค์การด้วยการกระตุ้นพนักงานให้กล้าเสี่ยง กล้าทดลองคิดทำในสิ่งใหม่ และเน้นการให้รางวัล ผลตอบแทนแก่ผู้ที่ริเริ่มสร้างสรรค์เป็นพิเศษ หลายบริษัทได้เปลี่ยนนโยบายใหม่มาเน้นเรื่องการมอบหมายอำนาจในการตัดสินใจแก่พนักงาน (Employee Empowerment) เน้นกลยุทธ์ความยืดหยุ่นและความสามารถตอบสนองได้รวดเร็วเป็นหลัก ซึ่งสอดคล้องกับยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ (Achievement Culture)

ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จก็คือ การที่ผู้นำมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนของเป้าหมายองค์กร ผู้นำมุ่งเห็นผลสำเร็จตามเป้าหมายเช่น ตัวเลขยอดขายเพิ่มขึ้น ผลประกอบการมีกำไร หรือมีเปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งของตลาด (Market Share) สูงขึ้น เป็นต้น องค์กรมุ่งให้บริการลูกค้าพิเศษเฉพาะกลุ่มในภาวะแวดล้อมภายนอก แต่ไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องมีความยืดหยุ่นและต้องเปลี่ยนแปลงรวดเร็วแต่อย่างใด องค์กรที่ยึดวัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จจึงเน้นค่านิยมแบบแข่งขัน เชิงรุก ความสามารถริ่เริ่มของบุคคล  และพึงพอใจต่อการทำงานหนักในระยะยาวจนกว่าจะบรรลุผลตามเป้าหมาย ค่านิยมที่มุ่งการเอาชนะจึงเป็นเสมือนกาวเชื่อมทุกคนในองค์กรเข้าด้วยกัน หลายบริษัทที่มีวัฒนธรรมมุ่งผลสำเร็จจะให้ความสำคัญการแข่งขัน การเอาชนะ พนักงานที่มีผลงานดีจะได้ผลตอบแทนสูงในขณะที่ผู้มีผลงานต่ำกว่าเป้าก็จะถูกไล่ออกจากงาน

วัฒนธรรมแบบเครือญาติ (Clan Culture)

วัฒนธรรมแบบเครือญาติ ให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของพนักงานภายในองค์กรเพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองให้พร้อมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วจากภายนอกเป็นวัฒนธรรมที่เน้นความต้องการของพนักงานมากกว่าวัฒนธรรมแบบอื่น ดังนั้นองค์กรจึงมีบรรยากาศของมวลมิตรที่ร่วมกันทำงานคล้ายอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ผู้นำมุ่งเน้นเรื่อง ความร่วมมือ การให้ความเอาใจใส่เอื้ออาทร ทั้งพนักงานและลูกค้า โดยพยายามหลีกเลี่ยงมิให้เกิดความรู้สึกแตกต่างกันทางสถานะภาพ ผู้นำจะยึดมั่นในการให้ความเป็นธรรมและการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาอย่างเคร่งครัด

มีบางบริษัทที่ยึดวัฒนธรรมแบบนี้ แล้วประสบความสำเร็จที่ให้ความสำคัญสูงต่อค่านิยมการดูแลเอาใจใส่ต่อความเป็นอยู่และความต้องการของพนักงานเพื่อให้เกิดการเพิ่มผลงาน พนักงานจะได้รับการอบรมในการจัดระเบียบชีวิตส่วนตัวได้อย่างสมดุลมากกว่าการทำงานเพิ่มชั่วโมงขึ้นหรือทำงานหนักเกินไป หรือมีจิตใจมุ่งแข่งขันกัน นอกจากนี้ยังเน้นเรื่อง ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และความร่วมมือพบว่าพนักงานของบริษัทดังกล่าวให้ความร่วมมือและใส่ใจต่อเพื่อนร่วมงานและบริษัทยิ่งขึ้น ส่งผลให้บริษัทสามารถปรับตัวพร้อมต่อการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ดี

วัฒนธรรมแบบราชการ (Bureaucratic Culture)

เป็นวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญต่อภาวะแวดล้อมภายใน ความคงเส้นคงวาในการดำเนินการเพื่อให้เกิดความมั่นคง วัฒนธรรมแบบราชการจะมุ่งเน้นด้านวิธีการ ความเป็นเหตุผล ความมีระเบียบของการทำงาน มุ่งเน้นเรื่องให้ยึดและปฏิบัติตามกฎระเบียบ ยึดหลักการประหยัด ความสำเร็จขององค์กรเกิดจากความสามารถในการบูรณาการและความมีประสิทธิภาพ ในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ มีองค์กรน้อยมากที่สามารถดำเนินงานภายใต้ภาวะแวดล้อมที่มั่นคง ผู้นำส่วนใหญ่จึงพยายามหลีกเลี่ยงวัฒนธรรมแบบราชการ เนื่องจากต้องการมีความยืดหยุ่นคล่องตัวมากขึ้นนั่นเอง

          กล่าวโดยสรุปวัฒนธรรมแต่ละแบบดังกล่าว สามารถสร้างความสำเร็จให้แก่องค์กรได้ทั้งสิ้น การยึดวัฒนธรรมแบบใดหรือผสมผสานมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับจุดเน้นด้านกลยุทธ์ขององค์กร และความจำเป็นของเงื่อนไขแวดล้อมภายนอกเป็นสำคัญ จึงเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้นำที่ต้องมิให้องค์กรหยุดชะงักงันอยู่กับวัฒนธรรมเดิม ซึ่งอาจเหมาะสมกับอดีต แต่ไม่อาจทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อีกต่อไป

ตารางเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์กรของผู้นำแบบเก่า (Manager)กับผู้นำแบบใหม่ (Leader)


ผู้นำแบบเก่า

1.เป็นนาย (Boss) หรือผู้บัญชาการ (Commander) “ทำตามที่ข้าพเจ้าสั่ง”

2.เป็นผู้ควบคุม (Controller)  โดยกำกับดูแลอย่างเข้มงวด “คนพวกนี้ยังต้องควบคุมถึงจะได้งาน”

3.มุ่งให้เกิดการแข่งขันกันเองภายในขึ้น

4.ควบคุมข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร

5.มีความคิดว่าตนเป็นเจ้าของ (Owner Mentality) “นี่เป็นบริษัทของผม คุณต้องทำงานให้ผม เพราะผมจ่ายเงินเดือน คุณจึงต้องทำตามที่ผมสั่ง”

6.เน้นความอิสระของส่วนบุคคลเป็นเอกเทศ (Independent Individualist) ชอบพูดอยู่เสมอว่า “พนักงานเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าสูงสุด (Valuable asset) ของเรา” แต่มักปฏิบัติในลักษณะตรงกันข้าม     

ผู้นำแบบใหม่

1.เป็นผู้ฝึกสอน (Coach) ผู้เอื้ออำนวย (Facilitator) ครู (Teacher) พี่เลี้ยง (Mentor)

2
ผู้นำร่วมกับทุกคนในการสร้างวัตถุประสงค์วิสัยทัศน์ ค่านิยม ความเชื่อขององค์การขึ้นแล้วใช้การยึดมั่นต่อวัตถุประสงค์และค่านิยมดังกล่าวเป็นเครื่องมือควบคุม

3
. มุ่งให้เกิดการร่วมมือกันเองภายใน แต่ให้หันไปแข่งขันกับภายนอก

4. เปิดกว้างการสื่อสารและการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศอย่างทั่วถึง

5. มีความคิดเป็นเจ้าของร่วมกันของทุกคน “บริษัทมิใช่ผมเป็นเจ้าของคนเดียว เพียงแต่คนอื่นมอบความไว้วางใจให้ผมเป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างบรรยากาศที่ดี เพื่อให้พวกเราได้ทำงานที่รักจนบรรลุอุดมการณ์แห่งชีวิตของเรา"

6. ส่งเสริมให้แต่ละคนทำงานแบบพึ่งพาอาศัยกันในรูปแบบทีมงาน (Interdependent Team Builder)

7. ทั้งคำพูดและการกระทำสอดคล้องและคงเส้นคงวาในทิศทางที่ถือว่า “พนักงานเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าสูงสุดขององค์การ”



เทคนิคการทำงานร่วมกับผู้บริหารหัวก้าวหน้าเพื่อความสำเร็จในอาชีพของตนเอง 1. ป้อนข้อมูล ใหม่ๆ ให้ผู้บริหารได้มีโอกาสเลือก 2. คิดและเตรียมสิ่งใหม่ๆ ไว้ ล่วงหน้า 3. อย่าเสี่ยง !! เถียง กับผู้บริหารในขณะที่ผู้บริหารกำลังร้อนวิชา 4. จงลองทำเองก่อน และค่อยใช้คนนอกมาช่วย เทคนิคการพัฒนา “ลูกน้อง” ให้เป็น “หัวหน้า” ที่ดีต่อไป 1. ฝึกให้ลูกน้องคิดแทนหัวหน้าก่อนที่หัวหน้าจะคิดทำ 2. ให้โอกาสลูกน้องได้เป็นหัวหน้า (โดยการมอบหมายงานให้ทำ) 3. ร่วมกับลูกน้องกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ 4. พัฒนาลูกน้องตามความถนัดและเหมาะสม 5. ส่งลูกน้องไปฝึกอบรมหาความรู้ใหม่ๅเพื่อพัฒนาตนเองและองค์กร " ในการทำงานแบบมืออาชีพนั้นถ้าผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารไม่ดึงหรือมอบหมายงานที่สำคัญให้แก่เราก็เป็นเรื่องยากที่เราจะประสบความสำเร็จโดยได้ตำแหน่งเป็นผู้บริหารงาน และหากว่าลูกน้องหรือผู้ที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเราไม่ดันเราขึ้นไปโอกาสในการไต่สู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นไปอีกก็แทบจะเป็นได้ยาก ดังนั้นมืออาชีพจึงต้องอาศัยปัจจัยทั้ง 2 อย่างในการทำงานเพื่อให้บรรลุถึงความสำเร็จของตนเอง" สุดท้าย.......คุณพร้อมสำหรับการเป็นผู้บริหารที่ดีแล้วหรือยังโดยมีตำแหน่งเหล่านี้.......

1. ผู้บริหารระดับต้น - ตำแหน่งห้วหน้างาน (Leader) ผู้ควบคุม (Supervisor / Foreman)..... 2. ผู้บริหารระดับกลาง - ตำแหน่งหัวหน้าแผนก (Section Chief) ผู้ช่วยผู้จัดการ (Asst. Manager).....

3. ผู้บริหารระดับสูง - ตำแหน่งผู้จัดการ (Manager) ผู้อำนวยการ (Director).....