การทำงานเป็นทีม ในการทำงานร่วมกันเพื่อปฏิบัติงานในภารกิจที่ถูกมอบหมายหรือเป็นโครงการที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้สำเร็จอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพนั้นบุคคลากรในทีมงานจะต้องเข้าใจบทบาท, ขอบเขต และหน้าที่ของตัวเองอย่างถ่องแท้เสียก่อนทุกระดับตั้งแต่หัวหน้าทีมและผู้ร่วมงานทุกคนในทีม รวมทั้งต้องเข้าใจและแยกแยะต่อความหมายในคำว่า “ Accountability “ , “ การช่วยเหลือ “ และ “ น้ำใจ “ ให้ชัดเจนเพราะไม่เช่นนั้นการทำงานร่วมกันในทีมอาจเกิดความล่าช้าเนื่องจากคนในทีมงานต้องช่วยเหลือกันบ่อยครั้ง ซึ่งสาเหตุอาจเกิดขึ้นจาก ประสบการณ์และความรู้แตกต่างกัน, ทักษะและความสามารถไม่เท่ากัน และท้ายที่สุดคือความรับผิดชอบและความตั้งใจในการปฏิบัติงานที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นผู้ที่ดูแลภารกิจหรือโครงการจะต้องเลือกห้วหน้าทีมที่สามารถควบคุมงานได้ตามแผนงานหรือ KPI ได้และต้องเลือกทีมงานที่มีความคิด, ความสามารถ และความตั้งใจในการทำงานที่ไม่แตกต่างกันมากนัก งานใดควรจะเลือก พวกชั้นครีมหรือ A ทีม งานใดควรจะเลือกชั้นปานกลางหรือ B ทีม พยายามอย่าคละทีมงานร่วมกัน เนื่องจากจะเกิดความล่าช้าดังเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้ว โดยต่อไปนี้จะขออธิบายความหมายของคำเหล่านี้
Accountability เป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกให้เห็นว่า ได้ยอมรับหน้าที่หนึ่งๆและจะนำไปปฏิบัติด้วยความพร้อมที่จะรับทั้งผิดและชอบ บุคคลที่ได้รับมอบหมายงานจะถูกกำหนดให้มีความรับผิดชอบเป็นกรณีๆไปโดยมีการกำหนดขอบเขตหน้าที่อย่างชัดเจน (ในวัฒนธรรมตะวันตกหมายถึงเป็นการให้คำมั่นสัญญาออกไป) หลังจากนั้นเมื่อถึงเวลาปฏิบัติงาน ผลงานจะออกมาดีหรือไม่อย่างไรจะอยู่ในความรับผิดชอบของบุคคลนั้นทั้งหมด (ในประเทศอังกฤษจะใช้คำว่า Stewardship) Accountability จะครอบคลุมถึงการสื่อความ (Communication) ที่บุคคลนั้นจะต้องรายงานหรือบอกกล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นให้ผู้บังคับบัญชาทราบตั้งแต่เนิ่นๆ รายงานนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นเฉพาะเรื่องที่ดีเสมอไป อะไรที่เป็นปัญหาหรือข้อผิดพลาดก็ต้องรายงานด้วยเพื่อต้องการผลสะท้อนของสิ่งที่เกิดขึ้น (Feedback) เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการทำงาน ในสังคมชาวตะวันตกส่วนใหญ่จะมีความเห็นพ้องต้องกันว่า เมื่อบุคคลใดให้สัญญาว่าจะทำอะไรแล้วถ้าไม่รักษาคำพูด ต่อไปคำพูดของบุคคลนั้นจะไม่มีน้ำหนักและมีคุณค่า เมื่อเป็นเช่นนั้นเขาจะได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจน้อยลงพร้อมทั้งจะได้รับมอบหมายภาระรับผิดชอบทั้งด้านการงานและสังคมน้อยลงไปด้วย สำหรับหลายประเทศในเอเชียพฤติกรรมของความรับผิดชอบมักจะปฏิบัติกันเป็นกลุ่มบุคคลหรือเฉพาะองค์กร ส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าเป็นเรื่องเฉพาะของบุคคล ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ๆต้องดูแลและควบคุมเอาเอง ในการทำงานร่วมกันถ้าสมาชิกในทีมนั้นๆมีพฤติกรรมความรับผิดชอบที่เหมือนกันจะช่วยให้ทีมนั้นไม่ต้องเผชิญกับปัญหาที่เกิดจากความไม่แน่นอนขึ้นได้ ซึ่งคุณลักษณะของ Accountability มีดังนี้
การช่วยเหลือ ในความหมายของราชบัณฑิตยสถานนั้นหมายถึง
ในสังคมชาวตะวันออกมักจะแยกความช่วยเหลือหรือความเอื้อเฟื้อ/มีน้ำใจออกจากกันไม่ได้เนื่องจากความเข้าใจใน Accountability ยังไม่แพร่หลายไปยังบุคคลากรหรือองค์กรทั่วไปนัก ในการทำงานเป็นทีมนั้นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีแต่ต้องไม่บ่อยจนเกินไปเพราะผู้ที่รับผิดชอบในส่วนงานหรือแผนที่ได้รับมอบหมายนั้นจะต้องทำงานอย่างตั้งใจและทำงานเต็มความสามารถเสียก่อนๆที่จะขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น ในการเข้าไปช่วยเหลืองานในบางครั้งอาจทำให้เกิดมุมมองจากผู้ที่ได้รับการความช่วยเหลือบ่อยๆตีความหมายความช่วยเหลือผิดไปว่านี่คือความเอื้อเฟื้อ/น้ำใจที่เขาจะต้องได้รับตลอดเวลาจากทีมงาน หากเขาไม่ได้รับความช่วยเหลือแสดงว่าบุคคลากรในทีมไม่มีน้ำใจต่อเขา ซึ่งจะส่งผลให้การร่วมมือในการทำงานและความสัมพันธ์ในทีมเกิดปัญหาขึ้นได้ ดังนั้นหัวหน้าทีมควรที่จะเข้าไปชี้แจงเหตุผลทำให้ทุกคนเข้าใจหน้าที่รับผิดชอบของตัวเองแต่เนิ่นๆ (ดังตัวอย่างต่อไปนี้) แต่ถ้าปัญหายังคงมีอยู่ต่ออย่างต่อเนื่อง หัวหน้าทึมก็ควรที่จะตัดสินใจโดยจัดลูกทีมเสียใหม่ก่อนที่แผนการดำเนินงานจะไม่ประสบความสำเร็จได้ ตัวอย่าง บริษัท WRP Engineering ต้องการที่จะส่งตัวอย่างงาน “ นาฬิกาแขวน “ ไปให้ลูกค้า โดยมีกำหนดการส่งตัวอย่างในวันที่ 1 สิงหาคม 2563 เป็นจำนวน 3 เรือน โดยมีคุณ เจมส์ เป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าทีมงานโดยแบ่งงานให้ลูกทีมดังนี้ 1. คุณ ปีเตอร์ มีหน้าที่ ออกแบบพัฒนา และเขียน Drawing ของนาฬิกาแขวน 2. คุณ บอย มีหน้าที่ ออกแบบพัฒนา และการจัดทำ Mockup ของนาฬิกาแขวน 3. คุณ ลำยอง มีหน้าที่สนับสนุน คุณบอย ในการจัดทำ Mockup รวมถึง การจัดหาวัตถุดิบทั้งหมด ของนาฬิกาแขวน การเริ่มต้นการทำงาน คุณบอยกับคุณลำยองถูกมอบหมายงานให้ทำโดยคิดประสิทธิผลเป็น 100% ทั้งคู่ เมื่อเริ่มต้นการทำงานไปได้ระยะหนึ่งพบว่า คุณลำยองทำงานไม่ทัน จึงได้ขอความช่วยเหลือจากคุณ บอย เพื่อช่วยแบ่งเบางานที่ทำ Mockup ไปประมาณ 10% ของปริมาณงานของตัวเองที่ทำ ทีนี้เรามาดูกันว่าจะมีผลกระทบอะไรเกิดอะไรขึ้นบ้างเมื่อเปรียบเทียบผลการทำงานของ 2 ท่าน ปริมาณงานคุณบอย จะเปลี่ยนไปโดยเพิ่มจาก 100% ไปเป็น 100 + 10 = 110% ปริมาณงานคุณลำยอง จะเปลี่ยนไปโดยลดจาก 100% ไปเป็น 100 - 10 = 90% ดังนั้นคุณบอยต้องทำงานเป็น 110/90 = 1.22 เท่าของคุณ ลำยอง ต่อมาเมื่อใกล้ถึงเวลาที่จะส่งมอบงานคุณลำยองต้องไปขอความช่วยเหลือและขอความเห็นใจจากคุณบอยอีกครั้งเนื่องจากคุณลำยองทำงานไม่ทัน ไม่เช่นนั้นกำหนดการต่างๆจะต้องเลื่อนออกไป ถ้าหากคุณเจมส์ทราบเรื่องจะมองว่าคุณลำยองทำงานไม่มีประสิทธิภาพส่งผลต่อการพิจารณาประเมินผลงาน ดังนั้นคุณบอยจึงต้องเข้าไปช่วยงานคุณลำยองอีกครั้ง โดยเพิ่มปริมาณงานเป็น 20% ทีนี้เรามาดูกันว่าจะมีผลกระทบอะไรเกิดอะไรขึ้นอีกบ้าง หมายเหตุ : ความหมายของคำว่าประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้นแตกต่างกันตรงผลลัพธ์ที่ได้ออกมา นั่นคือ Outcome ปริมาณงานคุณบอย จะเปลี่ยนโดยเพิ่มจาก 100% ไปเป็น 100 + 20 = 120% ปริมาณงานคุณลำยอง จะเปลี่ยนโดยลดจาก 100% ไปเป็น 100 - 20 = 80% คุณบอยต่องทำงานเพิ่มเป็น 120/80 = 1.50 เท่าของคุณ ลำยอง คำถาม จากกรณีตัวอย่างที่ได้แสดงด้านบน ท่านคิดว่าทีมงานของคุณเจมศ์มีปัญหาในห้วข้ออะไรเกิดขึ้นบ้างและควรจะต้องรีบแก้ไขอย่างไร เพื่อให้แผนการเสร็จตามกำหนดและทันเวลา ปัญหาและผลกระทบที่จะตามมา 1. ___________ 2. ___________ 3. ___________ 4. ___________ 5. ___________ แผนสำรองกันเหตุฉุกเฉิน 1. ___________ 2. ___________ 3. ___________ 4. ___________ 5. ___________ พยายามหาคำตอบด้วยตนเองให้ได้นะครับ “ ท่านหัวหน้าทีม “ ขอให้ทุกท่านโชคดีในการทำงาน |