การเริ่มต้นทำงานของพนักงานใหม่

ข้อควรปฎิบัติของพนักงานใหม่     


ก่อนที่พนักงานใหม่จะเริ่มการทำงานนั้น ทุกบริษัทจะมีการจัดปฐมนิเทศจากฝ่ายบุคคลของบริษัทเพื่อให้พนักใหม่ได้ทราบถึงสิ่งต่างๆดังนี้

1. แนะนำถึงประวัติของบริษัท และนโยบายต่างๆ ตลอดจนผู้บริหารระดับสูง
2. อธิบายกฎ ข้อบังคับ ระเบียบปฏิบัติต่างๆ ของบริษัท ที่พนักงานใหม่จะต้องปฏิบัติตามในระหว่างการทำงาน รวมถึงการแจกเอกสารคู่มือต่างๆที่สำคัญด้วย
3. อธิบายถึงสวัสดิการของบริษัท และสวัสดิการที่ได้รับจากรัฐบาลหรือหน่วยงานต่างๆ รวมถึงความปลอดภัย-ชีวอนามัยด้วย
4. มีการแนะนำหน่วยงานต่างๆในองค์กรรวมถึงอาจมีการเดินเยี่ยมชมโรงงานหรือแผนกต่างๆ 


ดังนั้นพนักงานใหม่ไม่ควรที่จะพลาดโอกาสในการเข้าร่วมการปฐมนิเทศเป็นอย่างยิ่งและก่อนที่จะเริ่มการทำงานเราควรที่จะเตรียมตัวล่วงหน้าโดยการศึกษาหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่สำคัญในโรงงาน เพื่อที่จะได้ทราบขอบเขตของการทำงานซึ่งจะช่วยให้เราเริ่มการทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในบทความต่อไปนี้จะขออธิบายถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่สำคัญๆ เพื่อให้พนักงานใหม่ได้ทราบก่อนการเริ่มทำงาน

ฝ่าย ออกแบบ Design มีหน้าที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้

1. ออกแบบผลิตภัณฑ์เมื่อองค์กรต้องการจัดสร้างหรือทำสิ่งใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดเฉพาะเดิมของผลิตภัณฑ์
2. การทดสอบและทวนสอบสมรรถนะของการออกแบบกับการประยุกต์ให้ตรงตามข้อกำหนดเฉพาะของลูกค้า

ฝ่าย วิศวกรรม Engineer มีหน้าที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้

1. สนับสนุนข้อมูลทางเทคนิค เช่น การแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์ สถานการณ์อนุมัติเบื้องต้นก่อนการโอนย้ายแม่พิมพ์
2. ออกแบบและทบทวนการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการผลิต (Control Plan) ร่วมกับฝ่ายผลิตและฝ่าย QA
3. แจ้งฝ่ายผลิตให้มีจัดเตรียมเครื่องจักร, อุปกรณ์การผลิต เช่น Jig/Fixture หรืออุปกรณ์อื่นๆ ให้พร้อมก่อนการผลิต
4. จัดทำแผนผลิตภัณฑ์ใหม่ (Master Plan)
5. พัฒนาข้อบกพร่องของกระบวนผลิต (Potential Failure Mode Effects Analysis)
6. ทดลองผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ตามแผนที่กำหนด
7. ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอันมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขการผลิตกับฝ่ายผลิต
8. ควบคุมความคืบหน้าของแผนผลิตภัณฑ์ใหม่โดยรวม (Progressive of Master Plan Control) 
9. รายงานความคืบหน้าของแผนงานให้ฝ่าย Sales/Marketing และผู้จัดการโรงงานทราบเพื่อใช้ในการรายงานลูกค้า
10.จัดทำตัวอย่างและข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าร้องขอ
11.ประเมินผลของผลิตภัณฑ์ใหม่
12.จัดฝึกอบรมขั้นตอนการทำงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ฝ่ายผลิตและฝ่าย QA อย่างเพียงพอ

ฝ่าย แม่พิมพ์การผลิต Mold / Mold Maintenance หรือ ฝ่ายผลิตชิ้นส่วน มีหน้าที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้

1. กำหนดข้อกำหนดคุณลักษณะของแม่พิมพ์ (Mold Specification Sheet)
2. ตรวจสอบคุณภาพของแม่พิมพ์
3. ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอันมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับแม่พิมพ์
4. ควบคุมดูแลแม่พิมพ์
5. แก้ไขปัญหาแม่พิมพ์

ฝ่าย ประกันคุณภาพ Quality Assurance / QA มีหน้าที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้

1. ทบทวนการออกแบบและการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการผลิต (Control Plan) ร่วมกับฝ่ายEngineerและฝ่ายผลิต
2. กำหนดเกณฑ์การตรวจสอบก่อนการผลิตจริง เช่น Inspection Standard , Inspection Report , Inspection Area
3. จัดทำเอกสารคุณภาพประกอบการผลิต เช่น Work Instruction ที่จำเป็นในการตรวจสอบ
4. จัดเตรียมพนักงานและอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการตรวจสอบและควบคุมกระบวนการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ
5. จัดฝึกอบรมขั้นตอนการทำงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ให้พนักงาน QA อย่างเพียงพอ
6. จัดเตรียมมาตรฐานและอุปกรณ์ในการตรวจสอบการรับเข้าของวัตถุดิบและชิ้นส่วน
7. ดูแลการควบคุมเอกสารของผลิตภัณฑ์และขบวนการตามที่ลูกค้าต้องการ

ฝ่าย การตลาด (Sale / Marketing) มีหน้าที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้

1. ควบคุมการส่งมอบผลิตภัณฑ์ได้รับและตกลงไว้กับลูกค้า
2. ควบคุมแผนคำสั่งซื้อจากลูกค้ารวมถึงการพยากรณ์คำสั่งซื้อล่วงหน้า
3. รับข้อมูลผลิตภัณฑ์และข้อมูลความเปลี่ยนแปลงจากลูกค้า
4. จัดส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์พร้อมข้อมูล Production Part Approval Process และติดตามผลการอนุมัติจากลูกค้า
5. รายงานความคืบหน้าของแผนการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ลูกค้าทราบ

ฝ่าย ควบคุมการผลิต Production Control / PC มีหน้าที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้

1. จัดเตรียมแผนการผลิต กำลังการผลิต กำลังคน เครื่องจักรสำหรับการผลิตตามแผนที่กำหนด
2. จัดเตรียมแผนความต้องการวัตถุดิบ ชิ้นส่วนต่างๆ ที่ต้องการใช้ในการผลิต
3. ติดตามผลการผลิตจากฝ่ายผลิตให้ตรงกับแผนที่วางไว้

แผนก จัดซื้อ Purchase / PU มีหน้าที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้

1. จัดซื้อหรือจัดหาวัตถุดิบที่ต้องใช้ในการผลิตที่เกี่ยวข้อง เช่น วัตถุดิบ (Material) ชิ้นงาน(Component)
2. วางแผนคำสั่งซื้อวัตถุดิบให้เพียงพอต่อแผนและกำลังการผลิต

ฝ่าย ผลิต Production / PD มีหน้าที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้

1. จัดเตรียมแรงงาน เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่จำเป็นให้มีเพียงพอต่อกำลังการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ
2. จัดทำเอกสารประกอบการผลิต เช่น Work Instruction ที่จำเป็นสำหรับการผลิต
3. จัดฝึกอบรมขั้นตอนการทำงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้พนักงานอย่างเพียงพอ