การวางแผนความก้าวหน้าในอาชีพ

เส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ Career Paths


เส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ คือ ความก้าวหน้าของพนักงานที่อาจจะเป็นการย้ายจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง โดยการสร้างให้มีความสามารถตามที่ระบุไว้ เส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ ไม่ใช่ คําบรรยายลักษณะงาน (Job descriptions) ซึ่งลักษณะงานเป็นคำอธิบายที่ครอบคลุมทุกงาน (Tasks) ที่เฉพาะต่อพนักงานผู้ซึ่งจะต้องปฏิบัติงาน ส่วน Career Paths จะอธิบายถึงความสามารถที่เฉพาะ (Competencies) และจำเป็นในแต่ละระดับงาน ความสามรถที่เฉพาะ Competency คือ ชุดของพฤติกรรมการรวม ความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณสมบัติส่วนบุคคล ที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของการทำงาน โดยมีความหมายดังต่อไปนี้ 
1. ความรู้ Knowledge หมายถึง ข้อมูลที่มีข้อเท็จจริง, ความคิด, ความจริงหรือหลักการ 
2. ทักษะ Skill หมายถึง สามารถที่จะทำบางสิ่งบางอย่างได้ดี, มักจะได้รับจากการฝึกอบรมหรือประสบการณ์ 
3. ความสามารถ Ability หมายถึง แนวโน้มตามธรรมชาติที่จะทำอะไรประสบความสำเร็จหรือทำได้ดี; พรสวรรค์ 
4. คุณสมบัติส่วนบุคคล Personal attribute หมายถึง คุณลักษณะ, คุณภาพ, อุปนิสัย, ลักษณะเฉพาะ (สิ่งที่เกิดมากับคุณด้วย)


การทำเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพที่ดี จะต้องประกอบด้วย 1. มีคู่มือข้อกำหนดในการสรรหาบุคคลากรสำหรับการเลือกและ การประเมินผล 2. มีรายละเอียดช่วยให้ทุกคนเห็นและดำเนินการในเส้นทางอาชีพ และก้าวสู่ความความสำเร็จ 3. ให้ความคาดหวังที่ชัดเจนของการปฏิบัติงานที่ดี เพื่อนำไปใช้ในการบริหารจัดการผลการปฏิบัติงาน(Performance Management) 4. มุ่งเน้นไปที่ความตั้งใจของบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับ พฤติกรรมหลัก ทักษะ และค่านิยม 5. ให้แนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติงาน 6. Career Paths เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารคนเก่ง (Talent Management)


เหตุผลที่ต้องมี Career Paths คือ 1. เป็นแนวทางของการคัดเลือกและการตัดสินใจเลื่อนตำแหน่ง 2. ให้ความชัดเจน มืแนวทาง และความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 3. ช่วยเพิ่มความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน 4. เพิ่มความเป็นเจ้าของในอาชีพของพนักงาน 5. คงไว้ซึ่งผลการปฏิบัติงานที่ดีเลิศ 6. จัดวางให้ “ทักษะที่เหมาะสม...อยู่กับสถานที่ที่เหมาะสม” (Right Skills in the Right Place) 7. สร้างกลุ่มคนเก่ง ให้ตรงกับความขององค์กรในอนาคต 8. เพิ่มความโปร่งในการเลื่อนตำแหน่ง


เมื่อไหร่ต้องใช้ Career Path?


1. เมื่อสัมภาษณ์ และ คัดเลือกผู้สมัคร

2. ใชัขณะปฐมนิเทศน์พนักงานใหม่

3. ใช้ขณะฝึกอบรม และ สอนงาน

4. ใช้สนทนาเกี่ยวกับการพัฒนาสายอาชีพของพนักงาน

5. ใช้ระหว่างการทบทวนผลการปฏิบัติงาน

6. ใช้เมื่อมีการพิจารณาคุณสมบัติเพื่อการเลื่อนตำแหน่ง


การพิจารณาคุณสมบัติเพื่อการเลื่อนตำแหน่ง ส่วนใหญ่จะพิจารณาจากหัวข้อดังต่อไปนี้


1. หน้าที่และความรับผิดชอบ เช่น ทักษะด้าน คอมพิวเตอร์, ซอฟต์แวร์, เครื่องมือ, อุปกรณ์ & เครื่องจักร (ขึ้นอยู่กับแผนก/บทบาท)

2. การทำงานเป็นทีม และการกำกับดูแล

3. คุณภาพของงาน

4. ทักษะการสื่อสาร

5. การใส่ใจต่อลูกค้า

6. การแก้ปัญหา/ การแก้ไขอุปสรรค/ ทักษะการวิเคราะห์

7. การจัดลำดับความสำคัญ

8. ความเข้าใจในธุรกิจของบริษัท

9. การเรียนรู้และการพัฒนา

10. ความปลอดภัย

11. ทักษะด้านเครื่องมือต่าง ๆ


ดังนั้นหากคุณขาดคุณสมบัติในข้อใด คุณควรรีบปรับปรุงหรือเพิ่มความรู้ความสามรถในข้อนั้นด้วยตัวคุณเอง หรือขอคำปรึกษาและคำแนะนำจากผู้ที่เชี่ยวชาญในแต่ละหัวข้อ.....ขอให้โชคดีครับ