เทคนิคการเลื่อนขั้นและตำแหน่งเพื่อเป็นผู้บริหารที่ดี ส่วนใหญ่แล้วบริษัทต่างๆจะจัดทำ Career Path ไว้สำหร้บเป็นแนวทางในการพิจารณาการเลื่อนขั้นและตำแหน่งของพนักงานเพื่อไปสู่ขั้นหรือตำแหน่งที่สูงขึ้น โดยพิจารณาจาก ความสำเร็จในหน้าที่ ความรู้ ความสามารถ และสิ่งสุดท้ายที่สำคัญก็คือการเป็นผู้นำของพนักงาน ดังนัั้นหากคุณต้องการที่จะประสบความสำเร็จในการเลื่อนขั้นและตำแหน่งคุณควรศึกษาและตอบคำถามใน 9 หมวดที่จะกล่าวถึงต่อไป เพื่อให้คุณประเมินและค้นหาจุดอ่อน/จุดแข็งของคุณด้วยตัวเองเพื่อนำไปปรับปรุงและนำคุณไปสู่การเลื่อนขั้นและตำแหน่งที่สูงขึ้นจนเป็นผู้บริหารที่ดืได้ต่อไปในอนาคต การเลื่อนขั้นและตำแหน่ง ความหมายของทั้งสองคำจะไม่เหมือนกันโดยทีเดียว แต่สามารถเข้าใจได้ง่ายโดยขอให้ศึกษาตัวอย่างดังต่อไปนี้ ตัวอย่าง : คุณสุนัย จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ เข้าทำงานในบริษัทกุญธร (ผลิตหลอดไฟฟ้า) โดยวันที่เริ่มการทำงานอยู่ในตำแหน่ง วิศวกรระดับ1 ซึ่งบริษัทกุญธรหลอดไฟฟ้า มี Career Path สำหรับเลื่อนขั้นและตำแหน่งของวิศวกรดังนี้
จากผังด้านบนคุณสุนัยจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 8 ปีในการเลื่อนขั้นจากวิศวกร1 ไปสู่ขั้น วิศวกร5 เพื่อที่จะถูกนำชื่อไปพิจารณาจากผู้บริหารเพื่ออนุมัติว่าจะได้รับตำแหน่งวิศวกรอาวุโสหรือไม่ หากไม่ได้ตำแหน่งนี้ คุณสุนัยก็ต้องมุ่งหวังในการเลื่อนขั้นไปสู่วิศวกร6 เท่านั้น ในการประเมินผลงานประจำปีขอให้คุณปฏิบัติตามคำแนะนำทั้ง 3 ข้อดังนี้: 1. กรุณาอย่าดำเนินการใดๆ โดยขอให้คุณทบทวนคำถามเหล่านี้อย่างกว้างๆ โดยการหาสิ่งที่คุณทำได้ดีมากที่สุดมาเรียงลำดับ 2. มองตัวคุณเองอย่างเป็นกลางและประเมินความสามารถอย่างตรงไปตรงมา โดยให้คะแนนตั้งแต่น้อยมาก (1 คะแนน) ไปจนถึงสูงมาก (5 คะแนน)หากคุณคิดว่าข้อใดคุณมีทักษะบางด้านต่ำ ก็ขอให้คุณนำหัวข้อนั้นไปใช้ในการพัฒนาความสามารถและการเป็นผู้นำของคุณให้ดียิ่งขึ้น
3. คุณควรทำการประเมินความสามารถและการเป็นผู้นำของคุณเองอีกครั้งภายหลังจากคุณประเมินผลครั้งแรกโดยที่คุณได้พัฒนาปรับปรุงตนเองไปแล้วประมาณ 3-6 เดือนเพื่อเปรียบเทียบวัดผลความคืบหน้าของตัวคุณเอง วิธีวัดผลของคุณ การประเมินจะวัดผลจากภารกิจหลัก 5 ประการ คือ 1.การสร้างศรัทธา 2.การสร้างอนาคต 3.การสร้างระบบ 4.การสร้างคน 5.การสร้างตนเอง คำถามหมวดที่ 1 การสร้างศรัทธา ในเรื่องของความน่าเชื่อถือและไว้วางใจคุณเป็นบุคคลที่ 1.1 พูดความจริง 1.2 ให้เกียรติผู้อื่น 1.3 ตรงไปตรงมา-ไม่มีสิ่งแอบแฝง 1.4 แก้ไขความผิดพลาด และไม่ปกปิดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น 1.5 แสดงออกถึงความซื่อสัตย์-ไม่พูดลับหลังผู้อื่นในเชิงนินทาว่าร้าย 1.6 ทำงานสำเร็จตามที่ได้รับหมอบหมาย-มีผลงานที่ชัดเจนอย่างสม่ำเสมอ 1.7 มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาความสามารถของตนอย่างต่อเนื่อง 1.8 เผชิญหน้ากับความจริง-ไม่หนีปัญหา 1.9 ให้ผู้อื่นมีพันธะรับผิดชอบต่อผลงาน 1.10 รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างจริงใจ 1.11 รักษาคำมั่นสัญญา 1.12 มอบความไว้วางใจให้ผู้อื่น 1.13 สนทนาอย่างเปิดเผยและทำความเข้าใจอย่างชัดเจนกับความคาดหวัง คำถามหมวดที่ 2 การสร้างศรัทธา (ต่อ) ในฐานะผู้นำคุณเป็นบุคคลที่: 2.1 ใช้อำนาจของตำแหน่งหน้าที่เพื่อทำให้ งานสำเร็จฐานะผู้นำ 2.2 ใช้จุดแข็งในความสัมพันธ์และความน่าเชื่อถือส่วนตนเพื่อทำให้งานสำเร็จ คำถามหมวดที่ 3 การสร้างอนาคต ในเรื่องของเป้าหมายและวิสัยทัศน์คุณเป็นบุคคลที่ 3.1 ให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในการสร้างวิสัยทัศน์และทิศทางขององค์กร/หน่วยงาน 3.2 เข้าถึงความต้องการของลูกค้า (ภายในและภายนอก) 3.3 ให้ทีมงานมุ่งเน้นต่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้า (ภายในและภายนอก) 3.4 ช่วยให้ทีมงานเข้าใจถึงผลกระทบต่อความสำเร็จด้านการเงินขององค์กรที่พวกเขาสามารถสร้างได้ 3.5 ช่วยให้ทีมงานเข้าใจพันธกิจและกลยุทธ์ขององค์กร คำถามหมวดที่ 4 การสร้างอนาคต (ต่อ) ในฐานะผู้นำคุณเป็นบุคคลที่: 4.1 คาดหวังให้พนักงานมุ่งเน้นที่งานของพวกเขาเองโดยไม่ต้องคำนึงถึงภาพใหญ่ของส่วนรวม 4.2 สร้างความเข้าใจต่อพนักงานให้เห็นถึงความสำคัญของงานของพวกเขาที่มีผล ต่อภาพรวม คำถามหมวดที่ 5 การสร้างระบบ ในเรื่องของการทำงานให้สำเร็จคุณเป็นบุคคลที่ 5.1 กำหนดเป้าหมายที่สำคัญยิ่งอย่างชัดเจน 5.2 สร้างตัววัดผลที่ชัดเจนเพื่อตรวจสอบความคืบหน้าของเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ 5.3 ประชุมอย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจสอบความคืบหน้าของเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ 5.4 สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สามารถดึงดูดผู้ที่มีศักยภาพเป็นเลิศ 5.5 ส่งเสริมพนักงานให้เติบโตและมีการพัฒนาในหน้าที่การงาน 5.6 ช่วยให้บุคคลที่มีศักยภาพได้รับผิดชอบงานตรงตามความสามารถ 5.7 ชื่นชมและให้รางวัลแก่บุคคลตามผลงาน 5.8 ร้างระบบและกระบวนการที่ช่วยให้ผู้อื่นบรรลุผลสำเร็จในงานได้ดีขึ้น 5.9 รวบรวมข้อคิดเห็นจากลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ (ภายในและภายนอก) 5.10 นำข้อคิดเห็นที่ได้รับจากลูกค้าไปใช้เพื่อพัฒนาการทำงาน คำถามหมวดที่ 6 การสร้างระบบ ( ต่อ) ในฐานะผู้นำคุณเป็นบุคคลที่: 6.1 สร้างสภาพแวดล้อมที่ทุกๆ สิ่งต้องขึ้นอยู่กับคุณเท่านั้น 6.2 สร้างระบบและกระบวนการที่ช่วยให้สิ่งต่างๆมีความก้าวหน้าโดยเป็นอิสระจากคุณ คำถามหมวดที่ 7 การสร้างคน ในเรื่องของการทำงานร่วมกับผู้อื่นคุณเป็นบุคคลที่ 7.1 มองเห็นศักยภาพในตัวผู้อื่นและสามารถช่วยให้เขานำออกมาใช้ได้เต็มประสิทธิภาพสูงสุด 7.2 ช่วยให้ผู้อื่นได้ใช้ความสามารถของพวกเขาและมีพลังในการทำงาน 7.3 ดูแลพนักงานให้ได้รับอัตราค่าจ้างอย่างยุติธรรมสอดคล้องกับงานที่รับผิดชอบ 7.4 ช่วยให้พนักงานรู้สึกได้ว่าผลงานของพวกเขาเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและน่ายกย่อง 7.5 สร้างความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลงานที่คาดหวังจากพนักงาน 7.6 ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย มิใช่เพียงแค่กำหนดให้พวกเขา 7.7 ให้อิสระแก่พนักงานในการตัดสินใจตามที่พวกเขาเห็นสมควรเพื่อทำเป้าหมายให้สำเร็จ 7.8 สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ทุกคนมีพันธะรับผิดชอบต่อความสำเร็จของงาน 7.9 ให้ข้อคิดเห็นที่ตรงไปตรงมาและมีประโยชน์กับพนักงาน 7.10 เปิดรับข้อคิดเห็นที่ตรงไปตรงมาจากผู้อื่น 7.11 ผู้อื่นมองว่าเป็นที่พึ่งพาได้ในเรื่องของความช่วยเหลือและการสนับสนุน คำถามหมวดที่ 8 การสร้างคน (ต่อ) ในฐานะผู้นำคุณเป็นบุคคลที่: 8.1 กดดัน ควบคุม และจับตาดูพนักงานเพื่อทำให้เกิดผลลัพธ์ 8.2 ปลดปล่อยศักยภาพ ให้อำนาจและสนับสนุนพนักงานเพื่อทำให้เกิดผลลัพธ์ คำถามหมวดที่ 9การสร้างตัวเอง คำถามหมวดที่ 9 สร้างต้วเอง ในเรื่องของการทำงานคุณเป็นบุคคลที่ 9.1 พิจารณาจากคุณสมบัติทั้งหมดความน่าจะเป็นที่คุณจะแนะนำตัวเองเพื่อเป็นผู้นำให้กับผู้บริหารอยู่ในระดับใด 9.2 หากมีสิ่งหนึ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อปรับปรุงภาวะผู้นำของให้ดีขึ้น สิ่งนั้นคืออะไร 9.3 อธิบายตัวอย่างสถานการณ์ที่คุณเห็นว่าได้แสดงออกถึงภาวะผู้นำที่ดี |